ค้นเจอ 82 รายการ

คำฮ้าย

หมายถึงความชั่ว

ให้ค่อยแก้

หมายถึงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)

หลงเมือง

หมายถึงลืมบ้านเกิดเมืองนอน เรียก หลงเมือง ลืมเมือง ก็ว่า สถานที่เกิดเป็นจุดสำคัญของคนเรา ถ้าเราสร้างให้เจริญไม่ได้ก็อย่าทำลาย ถ้าบุญมาวาสนามีจงนำบุญบารมีของตนไปสร้างให้เจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไป อย่างว่า ยั่งยั่งหน้าท้าวท่านแองกา หลงเมืองพลัดพรากกันกอยให้ บาคราญต้านพอดีแล้วอย่า ขาก็คืนคอบเจ้าจอมไท้ที่เซ็ง (ฮุ่ง).

ไฮ่

หมายถึงไร่ ที่สำหรับปลูกพืชในป่าดง เรียก ไฮ่ อย่างว่า เฮ็ดนาอย่าเสียไฮ่ เลี้ยงไก่อย่าเสียฮัง (ภาาิต) หมายไฮ่ให้สุดชั่วแสงตา หมายนาให้สุดชั่วเสียงฮ้อง (ภาษิต) เป็นดั่งแสนส่ำห้อยน้ำผ่าเขาเขียว ไหลมาโฮมวังขวางสู่คุงคาเสี้ยง ชายหนึ่งทำนาแล้วทวนเทียวทำไฮ่ ฝังลูกเต้าแตงพร้อมถั่วงา (ฮุ่ง).

กฎ (จด)

หมายถึงจด บันทึก การจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเรียก กฎ อย่างว่า ก็จิ่งลงลายแต้มกฎเอาคำปาก (ฮุ่ง).

ไตรปิฎก

หมายถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มี 3 ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก.

ก๊งโก๋ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งค่อม และมักจะมีคำสร้อยต่อว่า ก๊งโก๋ะก๊งโก้ย ก๊มโก๋ะ ก็เรียก

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

ค่ำม้อย ๆ

หมายถึงค่ำลงเรื่อย ๆ, ค่อย ๆ มืดลง ๆ

ตั๋ว

หมายถึงโกหก พุดปด พุดเท็จ พูดโกหกหลอกลวง เรียก ตั๋วะ อย่างว่า อย่ามาตั๋วะให้หล้มตกหล่มดินทราย ตั๋วะให้กำดินทรายหว่านลงในน้ำ เฮ็ดให้เฮียมหลงหล้มตกตมทังหล่ม ตั๋วะให้คาดลาดล้มกลางบ้านมื่นชะเล (ผญา).

ตั๋วะ

หมายถึงโกหก พุดปด พุดเท็จ พูดโกหกหลอกลวง เรียก ตั๋วะ อย่างว่า อย่ามาตั๋วะให้หล้มตกหล่มดินทราย ตั๋วะให้กำดินทรายหว่านลงในน้ำ เฮ็ดให้เฮียมหลงหล้มตกตมทังหล่ม ตั๋วะให้คาดลาดล้มกลางบ้านมื่นชะเล (ผญา).

นวังคสัตถุศาสน์

หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัมภูตธรรม เวทัลละ (ป.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ