ค้นเจอ 61 รายการ

ไตรสรณคมณ์

หมายถึงการถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

กระป่อม (ตาข่ายดักปลา)

หมายถึงลำเผือกหรือลำสะโน ไม้สองชนิดนี้มีน้ำหนักเบา ตัดยาวขนาดคืบผูก เชือกห่างกันประมาณ 1 ศอก ขึงในเวลากางมอง เรียก ป่อมมอง

วิศวกรรมศาสตร์

หมายถึงวิชาที่เกี่ยวกับการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มาประยุกต์ใช้มีหลายสาขา เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล.

นิรโทษกรรม

หมายถึงการยกโทษให้ผู้ทำผิดไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย.

สมถกรรมฐาน

หมายถึงอุบายสงบใจ ใจที่มีราคะความกำหนัด โทสะความประทุษร้ายและโมหะความลุ่มหลง กิเลสสามตัวนี้ทำให้ใจวุ่นวาย ไม่สงบ ถ้าอยากให้สงบต้องเอาสมถกรรมฐานมาข่มไว้ การเจริญธรรมอย่างนี้เรียก เจริญสมถกรรมฐาน.

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

สื่อเมือง

หมายถึงคนกลางที่นำข่าวของมหาชนไปสู่รัฐ อย่างว่า ท้าวฮุ่งไขเงื่อนถ้อยถามหมู่ลุงอาว ผายความยินสื่อเมืองฝูงเหง้า บัดนี้เฮาก็ฟันแมนฮ้ายคลาเวียงสะสว่าง เพิงที่เมี้ยนเครื่องเข้าพลล้านลวดลาย ฮู้รือ (ฮุ่ง).

สถาปัตยกรรมศาสตร์

หมายถึงศิลปะหรือวิชาว่าด้วยการก่อสร้าง (ส.).

กงเมือง

หมายถึงเขตเมือง เรียก กงเมือง อย่างว่า มีในเขตขงกงเมืองสิวิราช (เวส) ท้าวก็คอยเห็นกงเมืองชั้นผีหลวงฮ้อยย่าน (สังข์) ข่อยเห็นกงเมืองชั้นจำปายาวย่าน (กา) ฟังยินซว่าซว่า ฮ้องกงราชเป็นจาน (สังข์) คอยเห็นกงเมืองก็พระยาขอมพอผอมผ่อ (ผาแดง)

เกย

หมายถึงที่สำหรับขึ้นลงราชยานของเจ้านายเรียก เกย อย่างว่า สะพ่มพร้อมอามาตย์ประดับดี ปูราชสิงหาส์นลวาดเพียงพรมล้วนยนยนช้างเชียงทองคับคั่งม้ามากเท้าเกยกว้างจอดจน (สังข์) ยั่งยั่งเที้ยนขุนนายเนืองแห่ ควาญเกี่ยวช้างเฮียงฮ้านแทบเกย (ฮุ่ง).

ไกล

หมายถึงห่าง, ไม่ใกล้, ยาว อยู่ห่างกันเรียก ไกลกัน อย่างว่า หมากส้มนับมื้อไกลเกลือ หัวเฮือนับมื้อไกลฝั่ง ดอกสะมั่งนับมื้อไกลจากต้น ดมแล้วกลิ่นบ่หอม (กลอน) นับมื้อไกลกันแล้วหัวอินทร์เสด็จจาก หน้าผากไกลกระด้นคราวมื้อกูกบ่เห็น (หน้าผาก).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ