ค้นเจอ 158 รายการ

เคิก

หมายถึงพัก หรือ หยุดการกระทำนั้นชั่วขณะ

ไหว้เจ้า

หมายถึงทำพิธีเซ่นเจ้าตามธรรมเนียมจีน.

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

วีรกรรม

หมายถึงการกระทำที่ได้รับการยกย่องว่ามีความกล้าหาญ การกระทำของผู้กล้าหาญ.

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

กร

หมายถึง1.) มือ 2.) ผู้ทำ ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่นกรรมกร ผู้ทำการงาน (ป.).

นิรโทษกรรม

หมายถึงการยกโทษให้ผู้ทำผิดไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย.

วจีกรรม

หมายถึงการพูด การกระทำทางวาจา (ป. วจีกมฺม).

ปากยาก

หมายถึงดื้อ, ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตาม ใช้ได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่

กรรมวิบาก

หมายถึงผลของกรรมเรียกวิบาก ผลดีเกิดจากการทำดี ผลไม่ดีเกิดจากการทำไม่ดี คนทำดีได้รับผลดี คนทำชั่วได้รับผลชั่ว ผลชั่วแม้แต่ผลชั่วก็ไม่ต้องการ ต้องการแต่ผลดี อย่างว่า ดีดีนี้ใผเห็นอยากเบิ่ง เทิงอยากเทิ้งเอาขึ้นขี่คอ (ภาษิต).

ก้อยก้อยกักกัก

หมายถึงการทำอะไรโดยไม่ตั้งใจ กลัวจะสำเร็จ ทำบ้างหยุดพักบ้าง เรียก เฮ็ดก้อยก้อยกักกัก.

กุกรรม

หมายถึงความชั่วที่ทำด้วยกายวาจาและใจเรียก กุกรรม อย่างว่า ความชั่วที่ได้ทำในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (สวดมนต์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ