ค้นเจอ 143 รายการ

วจีกรรม

หมายถึงการพูด การกระทำทางวาจา (ป. วจีกมฺม).

เสี่ยงบุญเสี่ยงกรรม

หมายถึงลองดูว่าจะดีหรือไม่ ทั้งนี้ก็แล้วแต่บุญกรรมที่ทำมา.

ปากยาก

หมายถึงดื้อ, ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตาม ใช้ได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่

ก้อยก้อยกักกัก

หมายถึงการทำอะไรโดยไม่ตั้งใจ กลัวจะสำเร็จ ทำบ้างหยุดพักบ้าง เรียก เฮ็ดก้อยก้อยกักกัก.

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

ขั่ว

หมายถึงการทำอาหารให้สุกโดยใส่น้ำนิดๆ หรือการคั่วนั่นเอง

กงสี

หมายถึงหุ้นส่วน, บริษัทที่บุคคลหมู่หนึ่งทำขึ้น เช่น กงสีต้มกลั่นสุรา.

กรรมการิณี

หมายถึงกรรมการซึ่งเพศหญิงที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทำงานดังกล่าวร่วมกับคณะกรรมการ.

กรรมวาจา

หมายถึงคำสวดในพิธีทำสังฆกรรม เช่น สวดกรรมวาจาในเวลาอุปสมบท.

เนื้อแดดเดียว

หมายถึงอาหารอีสานที่ทำจากเนื้อวัว หมักด้วยเกลือ น้ำปลา แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง สามารถนำไปทำอาหารำได้ทั้งทอด และย่าง

กรรมการเฉพาะกิจ

หมายถึงกรรมการที่ได้รับเลือกแต่งตั้งให้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น งานปราบปราม งานปลูกต้นไม้.

ไอศกรีม

หมายถึงของกินทำด้วยของหวาน กะทิหรือนม เป็นต้น ทำให้ข้นด้วยความเย็น (อ.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ