ค้นเจอ 62 รายการ

ไหล

หมายถึง1.)ชื่อพืชชนิดหนึ่ง ลำต้นกลมเล็กและยาว เรียก หญ้าไหล ใช้สำหรับทอเสื่อ ทอเสื่อคือต่ำสาด. 2.)เคลื่อนไปอย่างของเหลว เช่น น้ำ เรียก ไหล อย่างว่า เมื่อนั้นกุมภัณฑ์น้าวถนอมนางในอาสน์ คือคู่ไฟพ่างเผิ้งผายใกล้ล่ามไหล แท้แล้ว (สังข์).

ผักปูลิง

หมายถึงชะพลู, ใบชะพลู เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้ ผักแค, ผักอีเลิด, ผักนางเลิด ก็เรียก

ผักแค

หมายถึงชะพลู, ใบชะพลู เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้ ผักอีเลิด, ผักปูลิง, ผักนางเลิด ก็เรียก

ไฮ

หมายถึง1.) ต้นไทร เรียก ต้นไฮ มีหลายชนิด เช่น ไฮมี้ ไฮหย่อง ไฮคำ ไฮหิน 2.) ทองคำ ทองคำเรียก ไฮ อย่างว่า หลายประเทศเต้ามาเข้าส่วยไฮ (ขุนทึง). 3.) ไร ชื่อสัตว์เล็กๆ ชนิดหนึ่ง จำพวกริ้น ชอบกินเลือดเป็นอาหาร อย่างว่า ยูงยองฮี้นฝูงไฮเฮือดไต่ มันหากมีบ่ไฮ้หาได้คู่เฮือน (ย่า).

ก้นโดก

หมายถึง1.)นกโพระดก ชื่อนกชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกหลายอย่าง เรียก นกก้นโดก โกนโดก กะโดก โพนโดก 2.)ชื่อพรรณไม้เล็กชนิดหนึ่ง ลำต้นสูงศอกเศษ ใบใช้กินเป็นผักได้ เรียก ผักก้นโดก ผักกะโดก ก็เรียก.

ผักอีเลิด

หมายถึงชะพลู, ใบชะพลู เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้ ผักแค, ผักปูลิง, ผักนางเลิด ก็เรียก

ผักนางเลิด

หมายถึงชะพลู, ใบชะพลู เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้ ผักแค, ผักปูลิง, ผักอีเลิด ก็เรียก

ใหญ่

หมายถึงโต ไม่เล็ก โต เรียก ใหญ่ ลูกคนโต เรียก ลูกผู้ใหญ่ บ้านที่กว้างขวาง เรียก บ้านใหญ่ สิ่งของขนาดใหญ่ เรียก ใหญ่ อย่างว่า สองนายตั้งปานโตงเหล้าใหญ่ ชอบที่วอนพี่ผู้คีงค้อมค่อยเอา (ฮุ่ง) ยุ่งเหยิงมาก เรียก หยุ้งใหญ่ อย่างว่า ต้นไม้ใหญ่บ่มีผีสาวผู้ดีบ่มีชู้ธรณีบ่อกแตกสารือ ตาแฮกเปิดไก่ต้มดินชิแห้งไง่ผง (ผญา).

กด

หมายถึง1.)แม่กด หรือ มาตรากด. 2.)ชื่อปลาจำพวกหนึ่ง มีเงี่ยง ไม่มีเกร็ด เรียก ปลากด 3.)นกกด ชื่อนกกดจำพวกหนึ่ง มี 2 ชนิด คือชนิดสีดำปนแดง ตาสีแดงร้องเสียงปูดๆ หรือปืดๆ เรียก นกกดปูด หรือ นกกดปืด ชนิดตัวเล็กขนลายเรียก นกกดห่อย หรือ นกกดไฟ 4.)คำกำกับชื่อปี ในวิธีนับจุลศักราช กดตรงกับเลข ๗. 5.)บังคับ, ข่มเหง กดขี่ข่มเหงเรียก กด

แฮกเสี่ยว

หมายถึงผูกมิตร การผูกมิตร เรียก แฮกเสี่ยว คำว่า เสี่ยว ได้แก่ มิตร สหาย เพื่อน หรือ เกลอ การผูกเสี่ยวจะทำเป็นพิธีเสียเหล้าไหไก่ตัวเพื่อเลี้ยงดูกัน หรือคนสองคนเมื่อสมัครรักใคร่กันแล้วผูกข้อต่อแขนด้วยด้ายเพียงสองเส้นก็ได้ ผู้หญิงจะเป็นเสี่ยวกับผู้ชาย หรือผู้ชายจะเป็นเสี่ยวกับผู้หญิงก็ได้ ขออย่างเดียวขอให้รักสมัครสมานประสานสามัคคีกันไปจนตลอดชีวิต การผูกเสี่ยวเป็นประเพณีที่ชาวอีสานนับถือมาแต่ดึกดำบรรพ์ ผ๔้เป็นเจ้าของประเพณีนี้ก็คือบรรพบุรุษอีสาน ถือว่าท่านฉลาดและหลักแหลมนัก ถ้าโลกทั้งโลกเป็นมิตรสหายกัน เรื่องฆ่าตีบีฑ์โบยลักเล็กขโมยน้อย หรือเรื่องวิวาทบาดหมางแย่งอำนาจวาสนากันคงไม่เกิดขึ้นแน่ ถ้าคนในโลกนี้เกี่ยวข้องกันในการเป็นมิตรสหายกัน.

แมงจินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

แมงกินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงจินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ