ค้นเจอ 117 รายการ

หลูโตน

หมายถึง(กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.

เสื้อหมากกะแล่ง

หมายถึงเสื้อคอกระเช้า

เคิกกัน

หมายถึงคลาดกัน (อีสานตอนบน)

กระจัดกระจาย

หมายถึงเรี่ยราด, ไม่เป็นระเบียบ เช่น ของสิบอย่างวางไว้สิบที่ เรียกกระจัดกระจาย กระหยาดกระยาย ซะซายยายยัง ก็ว่า อย่างว่า สองพันกลิ้งกุมกันกลางแก่ง พระก็เปื้องดาบแผ้วเผลี้ยงเนื้อท่านธร คีงกระจัดม้างหัวชวนสะเด็นขาด มันก็ติดต่อได้คืนเข้าฮ่อมา (สังข์).

กระจิบ

หมายถึงชื่อนกตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ร้องเสียงดังจิ๊บๆ เรียก นกกระจิบ นกจิบ ก็ว่า อย่างว่า อุมลัวเค้ากาในแกกระจอก จิบก่างกี้เจียผ้ายกะแดบดิน (สังข์).

กระดอม

หมายถึงชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง มีรสขม มี ๓ ชนิด คือ กระดอมต้น กระดอมเครือ กระดอมพุ่ม อย่างว่า ยินขมในหมากกระดอมแคมฮั้ว (ฮุ่ง).

เกง

หมายถึงชื่อเครื่องดักสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง จำพวกกระต่าย สานด้วยเชือกปอหรือป่านตาห่างๆ เหมือนตาแห เรียก เกง ชิง ก็ว่า ดักกระต่าย คือห้างกระต่าย.

ขี้ทักแท่

หมายถึงไส้เดือนตัวเล็กเรียก ขี้ทักแท่ ขี้ทักแท่เหมือนไส้เดือน แต่ตัวเล็กกว่า สีจ่อนข้างแดง ชอบอยู่ตามที่ชื้นตามขี้สีก ชอบกัดกินรากพลู

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

เง้า

หมายถึงชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง จำพวกกระโดดสูง รูปร่างคล้ายกบ มีสีดำ อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือลำธารในป่าเขาเรียก เง้า.

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึงกรรมฐานที่ให้พิจารณาส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีหนังเป็นที่ 5.

อีโตน

หมายถึง(กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ