ค้นเจอ 109 รายการ

ปลงกรรมฐาน

หมายถึงพิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา.

กรรมาธิการ

หมายถึงกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่สูงกว่ากรรมการ โดยที่จะทำการสอบสวนข้อความใดๆ เกี่ยวแก่กิจการที่ตนมีอำนาจหน้าที่ก็ได้ เช่น กรรมาธิการแห่งสภาผู้แทนราษฎร.

หมก

หมายถึงห่อหมก เป็นการทำอาหรโดยห่อด้วยใบตอง ใบยอ หรือใบอื่น ๆ โดยคนอีสานจะนิยมนำไปเผาไฟ หรือนึ่ง

เก่เด่

หมายถึงชี้ตรง, อาการอื่น ๆ ที่มีลักษณะแข็งและตรง แก่แด่ (ใช้สำหรับสิ่งที่มีอาการคล้ายกัน แต่มีขนาดเล็ก) ก็เรียก

กทลี

หมายถึงกล้วย (ป.) อย่างว่า เจ้าผู้คีงเหลืองล้ำกทลีกล้วยบ่ม (สังข์).

วัลลภ

หมายถึงคนสนิท ผู้ชอบพอ คนโปรด คนรัก (ป.ส.).

กิ่นติ่น

หมายถึงอาการวิ่งไปโดยเร็วของเด็ก โดยผู้พูดพูดด้วยความเอ็นดูเด็ก ๆ

ขีด

หมายถึงลากให้เป็นรอยเส้นหรือสาย ด้วยปากกา ดินสอ หรือของมีคมอย่างอื่นเช่น ขีดเส้นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ขีดลวด ขีดลาย.

ไหว้บรรพบุรุษ

หมายถึงทำการไหว้บรรพบุรุษ บรรพบุรุษคือผู้เป็นต้นตระกูลของเรา คือ ทวด ปู่ย่าตายาย พ่อและแม่ การไหว้บรรพบุรุษคือไหว้สายเลือดของเรา เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เรา.

กตัญญูกตเวที

หมายถึงผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณท่าน พึงทราบบุคคลหาได้ในโลก ๒ จำพวกคือ ๑.บุพพการี ผู้ทำอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณ บุพพการีมี ๔ จำพวก คือ ๑.พ่อแม่ ๒.ครูบาอาจารย์ ๓.เจ้านายผู้ปกครอง ๔.พระพุทธเจ้า

ก่ง (เก่ง)

หมายถึงผู้เก่งกล้า ผู้มีความสามารถ อย่างว่า เมื่อนั้นผู้ก่งท้าวทรงเทศเป็นพระยาวางธรรมถวายผนวชไลลาไว้ บัวนางล้อมระวังเพ็งพื้นล่าง ถวายเสื้อผ้าทังม้าวมิ่งแหวน (สังข์)

กรอก

หมายถึงเท เทยาเข้าปากเรียก กรอกยาเข้าปาก เช่น เมื่อคนป่วยกินยาน้ำด้วยตนเองไม่ได้ ใช้คนเทยาเข้าปาก เรียก กรอกยาเข้าปาก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ