ค้นเจอ 50 รายการ

กง (ดื้อ)

หมายถึงดื้อ พยศ ขัดขืน คนดื้อด้านไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนกง โกง ก็ว่าอย่างว่า อย่าชะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ไผ่ป่า คันกะต่าบ่ห้อยบ่มีได้อ่านแอ่นกลางฯ อย่าซะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ฮวก บ่แม่นพวกหมู่นี้ ใผชิโก้ยขึ้นนั่งชาน(บ.).

หลงเมือง

หมายถึงลืมบ้านเกิดเมืองนอน เรียก หลงเมือง ลืมเมือง ก็ว่า สถานที่เกิดเป็นจุดสำคัญของคนเรา ถ้าเราสร้างให้เจริญไม่ได้ก็อย่าทำลาย ถ้าบุญมาวาสนามีจงนำบุญบารมีของตนไปสร้างให้เจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไป อย่างว่า ยั่งยั่งหน้าท้าวท่านแองกา หลงเมืองพลัดพรากกันกอยให้ บาคราญต้านพอดีแล้วอย่า ขาก็คืนคอบเจ้าจอมไท้ที่เซ็ง (ฮุ่ง).

ไฮ่

หมายถึงไร่ ที่สำหรับปลูกพืชในป่าดง เรียก ไฮ่ อย่างว่า เฮ็ดนาอย่าเสียไฮ่ เลี้ยงไก่อย่าเสียฮัง (ภาาิต) หมายไฮ่ให้สุดชั่วแสงตา หมายนาให้สุดชั่วเสียงฮ้อง (ภาษิต) เป็นดั่งแสนส่ำห้อยน้ำผ่าเขาเขียว ไหลมาโฮมวังขวางสู่คุงคาเสี้ยง ชายหนึ่งทำนาแล้วทวนเทียวทำไฮ่ ฝังลูกเต้าแตงพร้อมถั่วงา (ฮุ่ง).

จั่ง

หมายถึงถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น.

แกง

หมายถึงชื่ออาหารมีน้ำจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดที่มีน้ำพอดี เรียก แกงธรรมดา แกงผสมหลายอย่างเรียก แกงซั้ว แกงสงฆ์ แกงชนิดมีน้ำน้อย เรียก แกงอ่อม อย่างว่า คันซิเอาะอ่อมจ้ำอย่าได้ใส่น้ำหลาย มันชิใสแจงแลงบ่เป็นตาจ้ำ (ย่า)

ก้นแงน

หมายถึงก้นงอน ก้นที่งอนออกมาข้างหลัง เรียก ก้นแงน อย่างว่า ญิงใดก้นแอ้งแถ้งแงนก้นเบิดคืนหลัง ดังโขโมคือยักษ์ย่างแพนแงนก้น ญิงนั้นจนเถิงเถ้าใจเบาเคียดง่าย อย่าได้หมายอยู่ซ้อน เมือหน้าบ่ดี (คำสอน).

ให้ค่อยแก้

หมายถึงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)

โล้งโค้ง

หมายถึงเขาควายที่ใหญ่และงองุ้มเรียก เรียก เขาโล้งโค้ง อย่างว่า บวชแต่น้อยบ่ฮู้แห่งคลองคหัสถ์ ผัดแต่ในคลองธรรมบ่อวดโตกะพอฮู้ บวชแต่น้อยบ่เห็นฮอยหมู่ แม่เห็นแต่บักโล้งโค้งหมูผู้หนวดยาว (บ.) อย่าได้โสกาดิ้นนำงาช้างเพิ่น ไห้ต่อเขาโล้งโค้งควายเถ้าแห่งเฮา (กลอน

กดวาท

หมายถึงพูดจาท่าทีใหญ่โต เรียก กดวาท อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มฟุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีผาด มึงหากกดวาทเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์).

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

โล่ง

หมายถึงพูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).

แส่ว

หมายถึง1. โฉบ เฉี่ยว เช่น ให้เจ้าเอายาวไว้คือกาคาบเอี่ยน อย่าได้เฮ็ดอ้อมป้อมคือฮุ้งแส่วหนู (ผญา) 2. เย็บ ปัก ถัก ร้อย เช่น ดูสะอาดล้ำหลิ้งแส่วไหมคำ แคงคานคุมเครื่องเหลืองสมเสื้อ ลำลำง้อมงามเฉลียวปุนแต่ง ฝูงนี้ลอนเลือกชั้นแฝงเนื้อพี่ไป ว่าเนอ (ฮุ่ง) คำที่ใกล้เคียง : แส่วหนี

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ