ค้นเจอ 60 รายการ

กฎธรรมชาติ

หมายถึงธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.

กงจักร

หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลม เช่น กงเกวียน กงล้อ กงรถ เรียก กงจักร อย่างว่า นำกงจักรจากไปปอมเว้น (สังข์)

ไจ้ไจ้

หมายถึงบ่อยๆ เนืองๆ คิดถึงเนืองๆ เรียก คึดไจ้ไจ้ จีไจ้ จีไจ้จีไจ้ ก็ว่า อย่างว่า เจ้าก็คิดเถิงบารมีธรรมเจ้าอยู่ไจ้ไจ้ (เวส).

โอ้กโลก

หมายถึงเปื้อน, มอมแมม มักใช้ขยายความสกปรก ซึ่งจะหมายถึงมอมแมมมาก ๆ ลักษณะการทาแป้งหรือสิ่งที่คล้ายแป้งมากเกินไป

เก่เด่

หมายถึงชี้ตรง, อาการอื่น ๆ ที่มีลักษณะแข็งและตรง แก่แด่ (ใช้สำหรับสิ่งที่มีอาการคล้ายกัน แต่มีขนาดเล็ก) ก็เรียก

จั่ง

หมายถึงถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น.

กงวัฏ

หมายถึงสิ่งหรือสถานที่มีลักษณะคล้ายกงจักร เพราะคลำหาต้นสายปลายเหตุไม่พบ เรียก กงวัฏ หรือสังสารวัฏ คือ เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะบรรลุพระอรหัต

กระจัดกระจาย

หมายถึงเรี่ยราด, ไม่เป็นระเบียบ เช่น ของสิบอย่างวางไว้สิบที่ เรียกกระจัดกระจาย กระหยาดกระยาย ซะซายยายยัง ก็ว่า อย่างว่า สองพันกลิ้งกุมกันกลางแก่ง พระก็เปื้องดาบแผ้วเผลี้ยงเนื้อท่านธร คีงกระจัดม้างหัวชวนสะเด็นขาด มันก็ติดต่อได้คืนเข้าฮ่อมา (สังข์).

กดวาท

หมายถึงพูดจาท่าทีใหญ่โต เรียก กดวาท อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มฟุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีผาด มึงหากกดวาทเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์).

ก้นคุ

หมายถึงก้นต่า, ก้นสอบ, ก้นไซ, ก้นบุง, ก้นกะติบ, ก้นแอบ, ก้นแอ่ง, ก้นอุ, ก้นหม้อ, ก้นไห สารพัดก้นซึ่งก็หมายถึงข้างล่าง หรือส่วนสุดของสิ่งเหล่านั้น.

กตัญญูกตเวที

หมายถึงผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณท่าน พึงทราบบุคคลหาได้ในโลก ๒ จำพวกคือ ๑.บุพพการี ผู้ทำอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณ บุพพการีมี ๔ จำพวก คือ ๑.พ่อแม่ ๒.ครูบาอาจารย์ ๓.เจ้านายผู้ปกครอง ๔.พระพุทธเจ้า

โล่ง

หมายถึงพูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ