ค้นเจอ 96 รายการ

โศกนาฏกรรม

หมายถึงเรื่องราวจะเป็นลิเก ละครหรือการละเล่นใดๆ ลงท้ายต้องประสบกับความเศร้าสลดใจ เรียก โศกนาฏกรรม.

กะซางแม่มันเถาะ

หมายถึงก็ช่างแม่มึงเถอะ, ช่างแม่ง เป็นคำสบถเมื่อรู้สึกไม่ได้ดังใจหรือทำอะไรไม่ได้แล้ว

ผาติกรรม

หมายถึงการทำให้เจริญ หมายถึง พระสงฆ์จำหน่ายครุภัณฑ์ หรือจำหน่ายของเสียทำให้ดี.

เหลือใจ

หมายถึงน้อยใจ, อัดอั้น, อึดอัด, อัดอั้นตันใจ, เก็บอัดความรู้สึกแน่นอยู่ในใจ เพราะไม่สามารถพูดหรือกระทำตามต้องการได้เนื่องจากอยู่ในภาวะจำทน

ใจฮ้าย

หมายถึงโกรธ,โมโห

กรรมเวร

หมายถึงการทำด้วยความพยาบาทปองร้าย โดยที่คู่กรรมนั้นได้หมายหมั้นปั้นใจจะตามล้างตามผลาญให้ได้.

ไตรทวาร

หมายถึงทวารทั้ง 3 คือ กาย เรียก กายทวาร วาจา เรียก วจีทวาร ใจ เรียก มโนทวาร.

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

กฎี

หมายถึงเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร เรียก กฎี กุฏี กะฏีก็ว่า (ป.กุฏิ).

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

หอผาสาท

หมายถึงเรือนที่มีหลังคาเป็นยอดแหลม ซึ่งเป็นที่ประทับของพระราชามหากษัตริย์ เรียก หอผาสาท.

กรรมวาจาจารย์

หมายถึงอาจารย์สวดกรรมวาจาฝ่ายขวา คู่กับพระอนุสาวนาจารย์ อาจารย์ส่วนกรรมวาจาฝ่ายซ้ายในเวลาอุปสมบท.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ