ค้นเจอ 63 รายการ

ก้นโกน

หมายถึงชื่อต้นหว้าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ก้นกลวง เมื่อสุกสีม่วงกินได้เรียก หมากหว้าก้นโกน.

ฮาก

หมายถึง1.)ราก อาเจียน อาหารที่กลืนลงไปแล้วอาเจียนออกมาทางปาก เรียก ฮาก เช่น ฮากเข้า ฮากน้ำ ฮากขี้เพี้ย ฮากขี้โพ่น. 2.)ส่วนของต้นไม้ที่หยั่งลงไปในพื้นดิน เพื่อดูดเอาอาหารมาเลี้ยงลำต้น เรียก ฮากไม้ คนที่เป็นดุจรากไม้ดูดเอาอาหารมาเลี้ยงประเทศชาติให้เจริญ เรียก ฮากคน.

กก

หมายถึงแรก, ทีแรก, เริ่มแรก, ลูกผู้เกิดทีแรก เรียก ต้นข้าวปักดำทีแรกเรียก เข้ากกแฮก.

กระดอม

หมายถึงชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง มีรสขม มี ๓ ชนิด คือ กระดอมต้น กระดอมเครือ กระดอมพุ่ม อย่างว่า ยินขมในหมากกระดอมแคมฮั้ว (ฮุ่ง).

ขี้เหน

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบมีกลิ่นเหม็น ผลเมื่อสุกสีช้ำมีรสหวาน รากใช้ทำยาได้ เรียก ต้นขี้เหน.

กนิษฐภคินี

หมายถึงน้อง (ป.ส.) อย่างว่า บ่ได้สุขอยู่สร้างเสวยราชเป็นพระยา คนิงแพงศรีชู่วันมีเอื้อน กำสุดโอ้กนิษฐาเจ้าพี่กูเอย ปานนี้ยักษ์ฆ่าเจ้ากินแล้วฮู้ว่ายัง นั้นเด(สังข์).

กุศลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.

ไซดักปลาไหล

หมายถึงเครื่องมือดักปลาไหล มีลักษณะคล้ายแจกัน มีไส้ในสำหรับใส่เหยื่อทำจากไม้ไผ่สานมีรูปร่างสวยงาม ใช้สำหรับดักปลาไหลโดยเฉพาะ กู้อีจู้, สุ่มดักปลาไหล, ตุ้มใส่ปลาไหล, อีจู้, ลัน ก็เรียก

ขี้ยาง

หมายถึงน้ำมันยาง น้ำมันที่เกิดจากต้นยางหรือต้นไม้อื่น นิยมเรียก ขี้ยาง ขี้ยางนี้เอามาผสมกันขอนดอกทำเป็นกะไต้หรือกระบอง สำหรับจุดไฟให้เกิดแสงสว่าง.

อีจู้

หมายถึงเครื่องมือดักปลาไหล มีลักษณะคล้ายแจกัน มีไส้ในสำหรับใส่เหยื่อทำจากไม้ไผ่สานมีรูปร่างสวยงาม ใช้สำหรับดักปลาไหลโดยเฉพาะ กู้อีจู้, สุ่มดักปลาไหล, ตุ้มใส่ปลาไหล, ไซดักปลาไหล, ลัน ก็เรียก

ลัน

หมายถึงเครื่องมือดักปลาไหล มีลักษณะคล้ายแจกัน มีไส้ในสำหรับใส่เหยื่อทำจากไม้ไผ่สานมีรูปร่างสวยงาม ใช้สำหรับดักปลาไหลโดยเฉพาะ กู้อีจู้, สุ่มดักปลาไหล, ตุ้มใส่ปลาไหล, ไซดักปลาไหล, อีจู้ ก็เรียก

ผักติ้ว

หมายถึงจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้มมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล ขยายพันธุ์วิธีการใช้เมล็ด เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ตอนเหนือ โดยจะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าตามเชิงเขา และตามป่าเบญจพรรณ

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ