ค้นเจอ 79 รายการ

ไชโย

หมายถึงคำเปล่งเสียงแสดงความดีใจในการที่ได้ชัยชนะ.

เนาะ

หมายถึงเป็นคำพูดชักชวน เช่น ไปนำกันเนาะ กินนำกันเนาะ เป็นคำที่ใช้ยืนยัน เช่น อีหลีล่ะเนาะ แปลว่า ก็จริงน่ะสิ

กรรมวาจา

หมายถึงคำสวดในพิธีทำสังฆกรรม เช่น สวดกรรมวาจาในเวลาอุปสมบท.

คาดลาด

หมายถึงเป็นคำขยายใช้กับอะไรที่มันยาวกว่าสิ่งอื่น ,โผล่ หรือล้ำออกมา

กรรมกรณ์

หมายถึงลงโทษ ได้แก่การลงโทษผู้ทำความผิด โดยการจำคุก ๑ ปรับไหม ๑ ทั้งจำคุกทั้งปรับ ๑ ประหารชีวิต ๑. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ได้แก่ตัวบทกฎหมายที่ลงโทษแก่บุคคลที่ทำความผิด โดยสมควรแก่โทษานุโทษ.

โก้กโวก

หมายถึงผอม, ซูบผอม มักจะใช้เป็นคำขยาย ซึ่งจะหมายถึงผอมมาก ๆ

ข่า

หมายถึงคนใช้, คนรับใช้ คล้ายกับคำในภาษาไทยคำว่า ข้า, ขี้ข้า

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

กุศลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.

กะส่างแม่มันเถาะ

หมายถึงก็ช่างแม่มึงเถอะ, ช่างแม่ง เป็นคำสบถเมื่อรู้สึกไม่ได้ดังใจหรือทำอะไรไม่ได้แล้ว

กะซางแม่มันเถาะ

หมายถึงก็ช่างแม่มึงเถอะ, ช่างแม่ง เป็นคำสบถเมื่อรู้สึกไม่ได้ดังใจหรือทำอะไรไม่ได้แล้ว

อาดหลาด

หมายถึงใช้ในการขยายคำให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งหมาย ถึง ยาว , สูงใหญ่ , ยาวใหญ่

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ