ค้นเจอ 58 รายการ

ไตรทวาร

หมายถึงทวารทั้ง 3 คือ กาย เรียก กายทวาร วาจา เรียก วจีทวาร ใจ เรียก มโนทวาร.

ไตรรงค์

หมายถึงธงชาติไทยซึ่งมี 3 สี คือสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน เรียก ธงไตรรงค์.

เฮียงฮ่วม

หมายถึงร่วมเรียง อย่างว่า เชิญหม่อมมาเสวยเข้าสาลีเฮียงฮ่วม พี่ก็ตั้งแต่งถ้าถนอมไว้แต่นาน แล้วเด เอื้อยนี้แนวนามเชื้อฉันเดียวโดยชาติ เชิญหม่อมมาจอดยั้งยาย้านเกลียดกลัว พี่ถ้อน (สังข์) เมื่อนั้นทุกที่ให้โฮมฮอดหมอโหร เขาก็ยอกระดานหินวาดดูกงแก้ว ชาตาได้อัครราศีเฮียงฮ่วม ราหูผาดผ้ายผันใกล้ฮ่วมจันทร (ฮุ่ง).

ไตรสิกขา

หมายถึงสิกขา 3 คือ ศีล เรียก สีลสิกขา ษมาธิ เรียก จิตสิกขา ปัญญา เรียก ปัญญาสิกขา.

กฎหมาย

หมายถึงบทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์

ก่ง

หมายถึงทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).

ไตรปิฎก

หมายถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มี 3 ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก.

ไตรวิชชา

หมายถึงวิชชา 3 คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ วิชชารู้ความเกิดตายของคนและสัตว์ และวิชชารู้ในการทำให้สิ้นกิเลส.

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

กระดอม

หมายถึงชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง มีรสขม มี ๓ ชนิด คือ กระดอมต้น กระดอมเครือ กระดอมพุ่ม อย่างว่า ยินขมในหมากกระดอมแคมฮั้ว (ฮุ่ง).

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

กรภ

หมายถึง1.หลังมือ 2.งวงช้าง 3.ลูกช้าง 4.ลูกอูฐ 5.อูฐทั่วไป 6.ของหอมชนิดหนึ่ง 7.ตะโพก (ส.). 8.ชื่อนักบัตรที่ ๑๓ อีกอย่างหนึ่งเรียก หัสตะ (ป.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ