ค้นเจอ 159 รายการ

หลูโตน

หมายถึง(กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.

นำไป

หมายถึงตามไป

เนื้อแดดเดียว

หมายถึงอาหารอีสานที่ทำจากเนื้อวัว หมักด้วยเกลือ น้ำปลา แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง สามารถนำไปทำอาหารำได้ทั้งทอด และย่าง

ก่ง (คิ้ว)

หมายถึงโค้ง คิ้วโค้ง เรียกคิ้วก่ง เช่น คิ้วก่งกวมตา อย่างว่า ออระม่อยหน้าคิ้วก่งคันศร ขนตางอนสิ่งนางเมืองฟ้า ทันตาแข้วขาวงามปานแว่น ฮูปอ้อนแอ้นนางฟ้าก็บ่ปาน (บ.)

กฎแกวด

หมายถึงนับจำนวน, กำหนดจำนวน การกำหนดนับจำนวนเรียก กฎแกวด อย่างว่า กฎแกวดเผี้ยนตายเมี้ยนมากหลาย(กา).

กฎธรรมชาติ

หมายถึงธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.

กตาธิการ

หมายถึงบารมีที่ได้สั่งสมไว้ หรือบุญที่ได้สั่งสมไว้ (ป.).

กรรมขัย

หมายถึงการสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น ตายเพราะหมดอายุ เป็นต้น.

กระจอนป่า

หมายถึงดอกสลิด ชื่อไม้ดอกชนิดหนึ่ง เกิดตามป่า เป็นไม้พุ่ม เรียก ต้นกระจอน.

เกง

หมายถึงชื่อเครื่องดักสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง จำพวกกระต่าย สานด้วยเชือกปอหรือป่านตาห่างๆ เหมือนตาแห เรียก เกง ชิง ก็ว่า ดักกระต่าย คือห้างกระต่าย.

ขี้กะเตอะ

หมายถึงสวะที่ลอยตามน้ำ เรียก ขี้กะเตอะ ตุมปวก ขี้ตุมปวก ขี้เฮอะ ก็ว่า

ขี้เจียม

หมายถึงจิ้งจก จิ้งจกเรียก ขี้เจี้ยม ขี้เกี้ยม ก็ว่า อย่างว่า เสียงกานั้นนางมาเวียนว่า น้อยหนึ่งตาพระบาทเจ้าจอมซ้อยเสม่นเนือง มีทังภุมราเกี้ยวกันลงซ้องพระเนตร เจี้ยมไต่เต้นโตนต้องบ่าขวา (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ