ค้นเจอ 28 รายการ

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

ไจ้

หมายถึงชื่อปีที่หนึ่งในจำนวนสิบสองปี คือ ปีไจ้=ปีชวด ปีเป้า=ปีฉลู ปียี่=ปีขาล ปีเหม้า=ปีเถาะ ปีสี่=ปีมะโรง ปีไส้=ปีมะเส็ง ปีชะง้า=ปีมะเมีย ปีมด=ปีมะแม ปีสัน=ปีวอก ปีเฮ้า=ปีระกา ปีเส็ด=ปีจอ ปีไค้=ปีกุน. คัด เลือก คัดสิ่งเสียออกจากสิ่งดีเรียก ไจ้ ไซ้ ก็ว่า.

แฮกเสี่ยว

หมายถึงผูกมิตร การผูกมิตร เรียก แฮกเสี่ยว คำว่า เสี่ยว ได้แก่ มิตร สหาย เพื่อน หรือ เกลอ การผูกเสี่ยวจะทำเป็นพิธีเสียเหล้าไหไก่ตัวเพื่อเลี้ยงดูกัน หรือคนสองคนเมื่อสมัครรักใคร่กันแล้วผูกข้อต่อแขนด้วยด้ายเพียงสองเส้นก็ได้ ผู้หญิงจะเป็นเสี่ยวกับผู้ชาย หรือผู้ชายจะเป็นเสี่ยวกับผู้หญิงก็ได้ ขออย่างเดียวขอให้รักสมัครสมานประสานสามัคคีกันไปจนตลอดชีวิต การผูกเสี่ยวเป็นประเพณีที่ชาวอีสานนับถือมาแต่ดึกดำบรรพ์ ผ๔้เป็นเจ้าของประเพณีนี้ก็คือบรรพบุรุษอีสาน ถือว่าท่านฉลาดและหลักแหลมนัก ถ้าโลกทั้งโลกเป็นมิตรสหายกัน เรื่องฆ่าตีบีฑ์โบยลักเล็กขโมยน้อย หรือเรื่องวิวาทบาดหมางแย่งอำนาจวาสนากันคงไม่เกิดขึ้นแน่ ถ้าคนในโลกนี้เกี่ยวข้องกันในการเป็นมิตรสหายกัน.

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ