ค้นเจอ 62 รายการ

กรรมวาจาจารย์

หมายถึงอาจารย์สวดกรรมวาจาฝ่ายขวา คู่กับพระอนุสาวนาจารย์ อาจารย์ส่วนกรรมวาจาฝ่ายซ้ายในเวลาอุปสมบท.

ลอยเฮือไฟ

หมายถึงเรือที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือท่อนกล้วย ทำรูปคล้ายเรือ ภายในเรือมีข้าวต้ม ขนม ฝ้ายไนไหมหลอด จุดกะไต้แล้วปล่อยไปตามแม่น้ำในวันออกพรรษาของทุกปีเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทในแม่น้ำนัมมานที เรือที่ทำนี้เรียก เฮือไฟ การปล่อยเรือเรียก ปล่อยเฮือไฟ ไหลเฮือไฟ ก็ว่า.

ขี้หลี้

หมายถึงมาก ดำขี้หลี เรียก ดำมากหรือดำปีด อย่างว่า เห็นว่าขี้หลี้อย่าฟ้าวขี่เฮือกลาย เห็นว่าดำขอยลอยอย่าฟ้าวพายเฮือเว้น (กลอน).

กง (ดื้อ)

หมายถึงดื้อ พยศ ขัดขืน คนดื้อด้านไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนกง โกง ก็ว่าอย่างว่า อย่าชะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ไผ่ป่า คันกะต่าบ่ห้อยบ่มีได้อ่านแอ่นกลางฯ อย่าซะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ฮวก บ่แม่นพวกหมู่นี้ ใผชิโก้ยขึ้นนั่งชาน(บ.).

กกหูก

หมายถึงด้ายหรือไหมที่ตัดไว้ติดกับฟืม เรียก กกหูก กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูกในเวลาจะทอครั้งต่อไป

ไท้

หมายถึงผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า อย่างว่า เสด็จล่วงขึ้นเถิงไท้ขาบทูล (กา) ดอกหนึ่งฟ้าสนั่นก้องเวหา ดอกหนึ่งสถานกงญายอดไท้ ดอกหนึ่งซอมแซมหยาหลายกาบ ดวงดาดดวงละไล้ลูบไล้ลืมวาง (ฮุ่ง).

หลงเมือง

หมายถึงลืมบ้านเกิดเมืองนอน เรียก หลงเมือง ลืมเมือง ก็ว่า สถานที่เกิดเป็นจุดสำคัญของคนเรา ถ้าเราสร้างให้เจริญไม่ได้ก็อย่าทำลาย ถ้าบุญมาวาสนามีจงนำบุญบารมีของตนไปสร้างให้เจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไป อย่างว่า ยั่งยั่งหน้าท้าวท่านแองกา หลงเมืองพลัดพรากกันกอยให้ บาคราญต้านพอดีแล้วอย่า ขาก็คืนคอบเจ้าจอมไท้ที่เซ็ง (ฮุ่ง).

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

ไฮ่

หมายถึงไร่ ที่สำหรับปลูกพืชในป่าดง เรียก ไฮ่ อย่างว่า เฮ็ดนาอย่าเสียไฮ่ เลี้ยงไก่อย่าเสียฮัง (ภาาิต) หมายไฮ่ให้สุดชั่วแสงตา หมายนาให้สุดชั่วเสียงฮ้อง (ภาษิต) เป็นดั่งแสนส่ำห้อยน้ำผ่าเขาเขียว ไหลมาโฮมวังขวางสู่คุงคาเสี้ยง ชายหนึ่งทำนาแล้วทวนเทียวทำไฮ่ ฝังลูกเต้าแตงพร้อมถั่วงา (ฮุ่ง).

เอี่ยน

หมายถึงปลาไหล ปลาไหลเรียก เอี่ยน มี ๒ ชนิด คือ เอี่ยนธรรมดา และเอี่ยนด่อน เอี่ยนด่อนมีสีค่อนข้างขาว อย่างว่า เอี่ยนขอเลือดนำกระปู (ภาษิต) ปล่อยเอี่ยนลงตม (ภาษิต).

กะ

หมายถึง1. ก็ 2. กำหนด, หมาย, คะเน, ประมาณการทำที่ต้องกำหนดวัน เวลา และจำนวนให้เรียก กะ เช่นงานชิ้นนี้ต้องทำให้สำเร็จภายในเจ็ดวัน ในวันที่เจ็ดต้องให้ทำสำเร็จก่อนเที่ยง.

ตั๋ว

หมายถึงโกหก พุดปด พุดเท็จ พูดโกหกหลอกลวง เรียก ตั๋วะ อย่างว่า อย่ามาตั๋วะให้หล้มตกหล่มดินทราย ตั๋วะให้กำดินทรายหว่านลงในน้ำ เฮ็ดให้เฮียมหลงหล้มตกตมทังหล่ม ตั๋วะให้คาดลาดล้มกลางบ้านมื่นชะเล (ผญา).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ