ค้นเจอ 41 รายการ

ไตรวิชชา

หมายถึงวิชชา 3 คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ วิชชารู้ความเกิดตายของคนและสัตว์ และวิชชารู้ในการทำให้สิ้นกิเลส.

ไง่

หมายถึงฟุ้ง, กระจาย, ปลิว ฝุ่นผงหรือละอองที่ปลิวไป เรียก ไง่ ไง่จนมองไม่เห็นเรียก ไง่ง้อง อย่างว่า เป็นไง่ง้องคือฟ้าเง่าฝน (กา) ต้นไม่ใหญ่บ่มีผี สาวผู้ดีบ่มีชู้บ่อกแตกสารือ ตาแฮกเปิดไก้ต้ม ดินชิแห้งไง่ผง (กลอน) คึดต่อคนตายนี้บ่มีทางชิเห็นไง่ คือดั่งไฟมอดแล้วใผชิ

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

กระดอม

หมายถึงชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง มีรสขม มี ๓ ชนิด คือ กระดอมต้น กระดอมเครือ กระดอมพุ่ม อย่างว่า ยินขมในหมากกระดอมแคมฮั้ว (ฮุ่ง).

ใหญ่

หมายถึงโต ไม่เล็ก โต เรียก ใหญ่ ลูกคนโต เรียก ลูกผู้ใหญ่ บ้านที่กว้างขวาง เรียก บ้านใหญ่ สิ่งของขนาดใหญ่ เรียก ใหญ่ อย่างว่า สองนายตั้งปานโตงเหล้าใหญ่ ชอบที่วอนพี่ผู้คีงค้อมค่อยเอา (ฮุ่ง) ยุ่งเหยิงมาก เรียก หยุ้งใหญ่ อย่างว่า ต้นไม้ใหญ่บ่มีผีสาวผู้ดีบ่มีชู้ธรณีบ่อกแตกสารือ ตาแฮกเปิดไก่ต้มดินชิแห้งไง่ผง (ผญา).

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

กรภ

หมายถึง1.หลังมือ 2.งวงช้าง 3.ลูกช้าง 4.ลูกอูฐ 5.อูฐทั่วไป 6.ของหอมชนิดหนึ่ง 7.ตะโพก (ส.). 8.ชื่อนักบัตรที่ ๑๓ อีกอย่างหนึ่งเรียก หัสตะ (ป.).

ญัตติจตุตถกรรม

หมายถึงคือการเผเดียงสงฆ์ครั้งหนึ่ง และขอความยินยอมจากสงฆ์อีก 3 ครั้ง เช่น การอุปสมบท เมื่อสวดครบญัตติ 4 ครั้ง ไม่มีใครคัดค้านการบวชนั้นก็ถือว่าเป็นอันสมบูรณ์ทุกประการ นี่เรียก ญัตติจตุถกรรม.

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

ไต

หมายถึง1.)อวัยวะชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ เรียก ไต อนึ่งเนื้อที่เป็นก้อนแข็งอยู่ในเนื้อเรียก เนื้อเป็นไต. 2.)ขัน ถาด ขันหรือถาดเรียก ไต ไตคำ ก็ว่า 3.)แผ่นดิน แผ่นดินเรียก แผ่นไต

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

กตัญญูกตเวที

หมายถึงผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณท่าน พึงทราบบุคคลหาได้ในโลก ๒ จำพวกคือ ๑.บุพพการี ผู้ทำอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณ บุพพการีมี ๔ จำพวก คือ ๑.พ่อแม่ ๒.ครูบาอาจารย์ ๓.เจ้านายผู้ปกครอง ๔.พระพุทธเจ้า

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ