ค้นเจอ 45 รายการ

กกหูก

หมายถึงด้ายหรือไหมที่ตัดไว้ติดกับฟืม เรียก กกหูก กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูกในเวลาจะทอครั้งต่อไป

ฮ้องเฮ่ง

หมายถึงร้องเสียงดัง อย่างว่า พอเมื่อฟืดฟืดฟ้าระดูด่วนคิมหันต์ มาแล้ว สาผลเนาอยู่นานในท้อง นับวันได้สิบเดือนพอขวบ ฟ้าเฮ่งฮ้องเดือนห้าฮว่านมา (ฮุ่ง).

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

กะ

หมายถึง1. ก็ 2. กำหนด, หมาย, คะเน, ประมาณการทำที่ต้องกำหนดวัน เวลา และจำนวนให้เรียก กะ เช่นงานชิ้นนี้ต้องทำให้สำเร็จภายในเจ็ดวัน ในวันที่เจ็ดต้องให้ทำสำเร็จก่อนเที่ยง.

ปลาจ่อม

หมายถึงเป็นอาหารหมัก คล้ายปลาร้า ได้จากการนำปลาขนาดเล็กมาล้างทำความสะอาด หมักกับเกลือผสมข้าวคั่ว และกระเทียมบด บรรจุในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หมักในระยะเวลาที่เหมาะสมจนมีรสเปรี้ยวควรทำให้สุกก่อนบริโภค และยังสามารถนำกุ้งฝอยมาทำได้เช่นกัน เรียกว่า กุ้งจ่อม

กระป่อม (ตาข่ายดักปลา)

หมายถึงลำเผือกหรือลำสะโน ไม้สองชนิดนี้มีน้ำหนักเบา ตัดยาวขนาดคืบผูก เชือกห่างกันประมาณ 1 ศอก ขึงในเวลากางมอง เรียก ป่อมมอง

น้องงัว

หมายถึงส่วนที่เป็นรกของวัว เวลาที่วัวตกลูกหรือคลอดลูก คนอีสานนำมาทำอาหารเมนูหลายหลาย เช่น อ่อม ต้ม ย่าง ลวกจิ้ม ต้มเปื่อย เป็นต้น ถือว่าเป็นเมนูที่หากินได้ยากและมีราคาแพง

น้องวัว

หมายถึงส่วนที่เป็นรกของวัว เวลาที่วัวตกลูกหรือคลอดลูก คนอีสานนำมาทำอาหารเมนูหลายหลาย เช่น อ่อม ต้ม ย่าง ลวกจิ้ม ต้มเปื่อย เป็นต้น ถือว่าเป็นเมนูที่หากินได้ยากและมีราคาแพง

ฮอดยาม

หมายถึงถึงเวลา เรียก ฮอดยาม อย่างว่า ประดับปิ่นป้องฮีฮ่ำเฮียงเงา พอดีเสด็จฮอดยามยวงเช้า เค็งเค็งก้องตุริยาเค้าคื่น อวนอ่อนแก้วกือล้านล่วงไป (สังข์).

กฎอัยการศึก

หมายถึงกฎหมายที่ตราขึ้นใช้ในเวลาที่จำเป็น เช่นเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกสงครามหรือความไม่สงบจะต้องตรากฎหมายขึ้นใช้ในภาวะเช่นนี้ กฎหมายนี้เรียก กฎอัยการศึก อำนาจบริหารบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจทหาร ทหารจะใช้กฎนี้ไปจนกว่าบ้านเมืองจะสงบสุข.

ชุด

หมายถึงเครื่องจุดกั้นริ้นหรือยุงในเวลาดำนา การดำนาในสมัยโบราณจะประสบกับริ้นหรือยุงกัด ต้องใช้กล้าแห้งหรือฟางถักเป็นเส้นจุดไฟวางไว้หรือคาดไว้ที่สะเอว กันมิให้ยุงหรือริ้นกัด เรียกสิ่งที่กันยุงหรือริ้นนี้ว่า ชุด.

กฎวัด

หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ