ค้นเจอ 33 รายการ

ขื่อเมือง

หมายถึงโยธาทหารผู้แกร่งกล้าเป็นรั่วรักษาประเทศชาติ เรียก ขื่อเมือง อย่างว่า แล้วย่างย้ายเมือสู่ชองคำ พอดียนยนขุนขือเมืองมาเฝ้า ประดับแถวถ้องเสนานบนั่ง พระจิ่วแก้ข่าวให้ขุนฮู้เหตุฝัน (สังข์).

กรรมคติ

หมายถึงทางดำเนินแห่งกรรม ทางดำเนินแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ สุคติไปดี ทุคติไปชั่ว คนทำความดีตายแล้วไปสู่สุคติ คือไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คนทำความชั่วตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย.

กุศลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.

แหลว

หมายถึงเหลว สิ่งที่มีลักษณะไม่ข้นเรียก แหลว เช่นน้ำและน้ำมัน เป็นต้น อย่างว่า คื่นคื่นช้างย้องย่างเงยงา มันแหลวไหลอาบคีงคือน้ำ พลกือก้ามเต็มไพรฮ้องโห่ เขาก็จาจีกใส้กินแกล้มนี่นัน (สังข์).

ก้นแงน

หมายถึงก้นงอน ก้นที่งอนออกมาข้างหลัง เรียก ก้นแงน อย่างว่า ญิงใดก้นแอ้งแถ้งแงนก้นเบิดคืนหลัง ดังโขโมคือยักษ์ย่างแพนแงนก้น ญิงนั้นจนเถิงเถ้าใจเบาเคียดง่าย อย่าได้หมายอยู่ซ้อน เมือหน้าบ่ดี (คำสอน).

ก้ม

หมายถึงทำให้ต่ำลงโดยอาการน้อม เช่น ก้มหัว ก้มหน้า อย่างว่า ก้มหมอบเข้าหัวเท้าง่ายาง ย่างย้งย้งหัวแทบขี้ดิน (เสียว) เสียงสั่งพร้อมพรพร่ำเนืองนัน ลัวอาหิวฮุ่งวอนแวนหม้อม ดีแก่สองขุนก้มลาลงเลยพรากขึ้นที่ม้าผันผ้ายเผ่นผยอง(สังข์).

ไฮ่ (ตบ)

หมายถึงตบ ตี ตีฆ้อง เรียก ไฮ่ฆ้อง อย่างว่า ลมเป่งเปลื้องเฟือยข่าแคมภู สะพึนจันทร์ก่ายดอยดาวข้อน ยูงวอนก้องสันภูใกล้ฮุ่ง ค้อนไฮ่ฆ้องคนพร้อมแต่งครัว (ฮุ่ง) ช้างแกว่งฆ้องกะเิงห้าวไฮ่เสียง (กา) ค้อนไฮ่ฆ้องฮางป่าวตีเติน ฮมฮมยอผาลาแห่จอมเมือหน้า เสินเสินช้างพังพลายย้ายย่าง หลายส่ำข้าอวนเจ้าท่องทาง (ฮุ่ง).

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ