ค้นเจอ 70 รายการ

ผาติกรรม

หมายถึงการทำให้เจริญ หมายถึง พระสงฆ์จำหน่ายครุภัณฑ์ หรือจำหน่ายของเสียทำให้ดี.

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

นวังคสัตถุศาสน์

หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัมภูตธรรม เวทัลละ (ป.).

กฎี

หมายถึงเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร เรียก กฎี กุฏี กะฏีก็ว่า (ป.กุฏิ).

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

หอผาสาท

หมายถึงเรือนที่มีหลังคาเป็นยอดแหลม ซึ่งเป็นที่ประทับของพระราชามหากษัตริย์ เรียก หอผาสาท.

ไจ้ไจ้

หมายถึงบ่อยๆ เนืองๆ คิดถึงเนืองๆ เรียก คึดไจ้ไจ้ จีไจ้ จีไจ้จีไจ้ ก็ว่า อย่างว่า เจ้าก็คิดเถิงบารมีธรรมเจ้าอยู่ไจ้ไจ้ (เวส).

กรรมวาจาจารย์

หมายถึงอาจารย์สวดกรรมวาจาฝ่ายขวา คู่กับพระอนุสาวนาจารย์ อาจารย์ส่วนกรรมวาจาฝ่ายซ้ายในเวลาอุปสมบท.

ไอราพต

หมายถึงไอราวัณ เอราวัณ ก็ว่า ช้างสามเศียร เป็นพาหนะของพระอินทร์ (ป. เอราวณ ส. ไอราวต).

ขี้เจียม

หมายถึงจิ้งจก จิ้งจกเรียก ขี้เจี้ยม ขี้เกี้ยม ก็ว่า อย่างว่า เสียงกานั้นนางมาเวียนว่า น้อยหนึ่งตาพระบาทเจ้าจอมซ้อยเสม่นเนือง มีทังภุมราเกี้ยวกันลงซ้องพระเนตร เจี้ยมไต่เต้นโตนต้องบ่าขวา (สังข์).

ไทยทาน

หมายถึงของควรให้ ของควรถวายพระสงฆ์ได้แก่ปัจจัย 4 มีผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาแก้ไข เรียก ไทยทาน ไทยธรรม ก็ว่า.

ไป่

หมายถึงไม่ ไม่มีเรียก ไป่มี อย่างว่า ท่อไป่มีเผ่าเชื้อพระเยียยอดเทวี เป็นพระยาโทนอยู่เนานอนแล้ง (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ