ค้นเจอ 74 รายการ

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

โกบ,โอบ

หมายถึงการจับหรือถือสิ่งของโดยใช้สองมือ, จับ, ถือ, กำ

แม่เมือง

หมายถึงพระราชินี เรียก แม่เมือง เมื่อเจ้าเมืองไม่อยู่ แม่เมืองทำหน้าที่ปกครองเมืองแทนเจ้าเมือง อย่างว่า นัคเรศไว้วางนาถนางเมือง ทั้งปวงขุนค่อยเกลียวกลมหน้า กูก็สนเทเท้าทนทวงบ้าบ่ม จริงแล้ว จักบวชตั้งศีลสร้างสั่งสู (สังข์).

เคิ่ง

หมายถึงครึ่ง กึ่ง ส่วนหนึ่งในสองส่วน เรียก เคิ่ง เคิ่งหนึ่ง ก็ว่า อย่างว่า ข้าจักให้เคิ่งหนึ่งแต่เจ้าทังสอง (เวส).

ขะเจ้า

หมายถึงพวกเขา

หิ่งเมือง

หมายถึงเจ้าเมือง อย่างว่า ประกอบผู้เจ้ายี่ยินสงวน ปุนแควางหิ่งเมืองกินแล้ว เทพีฟ้าชวนเจืองเอาแพ่ง เจ็ดอู่แก้วธรรม์ต้นลูกแกว (ฮุ่ง).

ข้าวคั่ว

หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียวที่แห้ง นำไปคั่วจนสุกกรอบ แล้วนำไปบด

กฎทบวง

หมายถึงทบวงคือหน่วยงานหนึ่งที่เทียบเท่ากระทรวง หรือลดหลั่นกระทรวงลงมา ข้อบัญญัติที่เจ้าทบวงตราไว้ เพื่อบริหาร เรียก กฎทบวง.

กนิษฐภคินี

หมายถึงน้อง (ป.ส.) อย่างว่า บ่ได้สุขอยู่สร้างเสวยราชเป็นพระยา คนิงแพงศรีชู่วันมีเอื้อน กำสุดโอ้กนิษฐาเจ้าพี่กูเอย ปานนี้ยักษ์ฆ่าเจ้ากินแล้วฮู้ว่ายัง นั้นเด(สังข์).

กร

หมายถึง1.) มือ 2.) ผู้ทำ ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่นกรรมกร ผู้ทำการงาน (ป.).

ยอ

หมายถึงยก ยกมือเรียก ยอมือ อย่างว่า ยอมือนบขาบกรกลอยไหว้ (สังข์) ชาติที่ยอเงิงไง้ขอนเห็นดูหลาก คันบ่เข็บก็งอดเงี้ยวงูฮ้อยหากมี บ่อย่าแล้ว (กลอน).

กก

หมายถึงโคน เช่น โคนแขนเรียก กกแขน โคนขาเรียก กกขา อย่างว่า สาวเอยสาว ตั้งแต่เจ้าเป็นสาว กกขาขาวคือปลีกล้วยถอก บาดเจ้าออกลูกแล้ว กกขาก่ำคือหำลิงโทน (กลอน)

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ