ค้นเจอ 52 รายการ

กนิษฐภคินี

หมายถึงน้อง (ป.ส.) อย่างว่า บ่ได้สุขอยู่สร้างเสวยราชเป็นพระยา คนิงแพงศรีชู่วันมีเอื้อน กำสุดโอ้กนิษฐาเจ้าพี่กูเอย ปานนี้ยักษ์ฆ่าเจ้ากินแล้วฮู้ว่ายัง นั้นเด(สังข์).

กก

หมายถึงโคน เช่น โคนแขนเรียก กกแขน โคนขาเรียก กกขา อย่างว่า สาวเอยสาว ตั้งแต่เจ้าเป็นสาว กกขาขาวคือปลีกล้วยถอก บาดเจ้าออกลูกแล้ว กกขาก่ำคือหำลิงโทน (กลอน)

สังฆกรรม

หมายถึงกิจที่พระสงฆ์สี่รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เรียก สังฆกรรม (ป.).

ไอศวรรย์

หมายถึงความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อำนาจ สมบัติแห่งพระราชาธิบดี ใช้ ไอศูรย์ ไอศริย ก็มี (ป. อิสฺสริย ส. ไอศฺวรฺย).

แม่เมือง

หมายถึงพระราชินี เรียก แม่เมือง เมื่อเจ้าเมืองไม่อยู่ แม่เมืองทำหน้าที่ปกครองเมืองแทนเจ้าเมือง อย่างว่า นัคเรศไว้วางนาถนางเมือง ทั้งปวงขุนค่อยเกลียวกลมหน้า กูก็สนเทเท้าทนทวงบ้าบ่ม จริงแล้ว จักบวชตั้งศีลสร้างสั่งสู (สังข์).

ฮ้องไห้

หมายถึงร้องไห้ อย่างว่า ในเมื่อพราหมณ์ขึ้นต้นไม้ฮ้องไห้อยู่ในดง จ่มเสียดายถงจีใจ้ ฮ้องไห้กล่าวถามหา ยังพระเวสสันดรเจ้าดั่งนั้น (เวส).

กรรมคติ

หมายถึงทางดำเนินแห่งกรรม ทางดำเนินแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ สุคติไปดี ทุคติไปชั่ว คนทำความดีตายแล้วไปสู่สุคติ คือไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คนทำความชั่วตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย.

ก่งโก๊ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งเรียกก่งโก๊ะ ก่งโก้ย ก็ว่า อย่างว่า เจ้าผู้จึ๊กจิ๊จื้น ขามะเฮ็งเก้ากิ่ว สังบ่โก๊ะก้มโก้ยคลายเล่นอยู่ขี้ดินพุ้นนอ (ผญา)

จอมเมือง

หมายถึงนางสุมณฑา นางสุมณฑา เรียก จอมเมือง อย่างว่า จอมเมืองเจ้าใจฮมฮักไพร่ สนุกอยูหลิ้นไพรกว้างม่วนระงม (สังข์).

ฮ้องฮว่าน

หมายถึงร้องดังกังวาล อย่างว่า ฟ้าฮ้องฮ่วนผู้ใดอยากม่วนให้ปะเมียมา ปะเมียมาแล้วสตางค์แดงบ่ให้แต่ง ชิให้เจ้าด้องแด้งนอนถ้าอยู่เฮือน (กลอน) พระบาทเจ้ามีอาจกลัวเกรงสน่อยนั้น ภูธรถอนแม่ธนูปุนเปลื้อง หลังหักค้นครางตายฮ้องฮ่วน มันเล่ายังพ่นฟ้งไฟไหม้ลวบลน (สังข์).

ฮ้องโห่

หมายถึงโห่ร้อง อย่างว่า จัดหมู่หน้ายอก่อนไหลหาญ ผายชะลือวอระนีเกี่ยวชูใสเข้า แมนหาญเข้าคุมคุมฮ้องโห่ เจ้ายี่เฆี่ยนหมู่ข้าฝูงกล้าดาดชน (ฮุ่ง).

เสี่ยว

หมายถึงเพื่อนรักเพื่อนแท้ที่เป็นเพื่อนกันโดยพิธีผูกเสี่ยว สหาย มิตร เพื่อน เกลอ คนที่มีรูปร่างหรือนิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียก เสี่ยว อย่างว่า โขโนเจ้าพรานสวงสองเสี่ยว (กาไก).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ