ตัวกรองผลการค้นหา
กฎแกวด
หมายถึงนับจำนวน, กำหนดจำนวน การกำหนดนับจำนวนเรียก กฎแกวด อย่างว่า กฎแกวดเผี้ยนตายเมี้ยนมากหลาย(กา).
กรรมปฏิสรณะ
หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.
กรรมขัย
หมายถึงการสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น ตายเพราะหมดอายุ เป็นต้น.
มหายุทธกรรม
หมายถึงการรบใหญ่ อย่างว่า มหายุทธกรรมบั้นเล็วสรวงเศิกใหญ่ แล้วท่อนี้ถวายไท้พระยอดคุณ แท้แล้ว (สังข์).
กรรมานุรูป
หมายถึงเหมาะสมแก่กรรม, ควรแก่การงาน (ส.).
เสี่ยงบุญเสี่ยงกรรม
หมายถึงลองดูว่าจะดีหรือไม่ ทั้งนี้ก็แล้วแต่บุญกรรมที่ทำมา.
อกรรมกิริยา
หมายถึงกิริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (ส.).
อโหสิกรรม
หมายถึงกรรมที่เลิกให้ผล การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน เรียกเพียงคำว่า อโหสิ ก็มี (ป.).
บัพพาชนียกรรม
หมายถึงกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่ (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).
กรรมเวร
หมายถึงการทำด้วยความพยาบาทปองร้าย โดยที่คู่กรรมนั้นได้หมายหมั้นปั้นใจจะตามล้างตามผลาญให้ได้.
กรรมคติ
หมายถึงทางดำเนินแห่งกรรม ทางดำเนินแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ สุคติไปดี ทุคติไปชั่ว คนทำความดีตายแล้วไปสู่สุคติ คือไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คนทำความชั่วตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย.
กรรมชรูป
หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา