ค้นเจอ 58 รายการ

ฮ้วม

หมายถึงรวน อาหารมีปลาหรือเนื้อที่ต้มให้สุกแล้วเก็บไว้ เมื่อต้องการก็เอามาปรุงเป็นอาหาร เรียก

กั้งโกบ

หมายถึงลักษณะอาการมือป้อง สายตามอง ยกมือข้างหนึ่งวางไว้เหนือคิ้ว เรียก กั้งโกบ เพื่อตั้งการมองดูข้างล่าง ไม่ให้แสงข้างบนมากระทบ.

กระพ้อม

หมายถึงอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับเก็บข้าวเปลือกที่ฟัดออกมาแล้วมาเก็บไว้เพื่อไว้ขายหรืไว้เพาะปลูกอีกคาว

เสื่อง

หมายถึงซ่อนไว้

กก

หมายถึงกอด อุ้ม กอดหรืออุ้มไว้กับอกเรียก กก เช่นแม่กอดลูก บ่าวกอดสาว ไก่กกลูก อย่างว่า ยามเมื่อนอนในห้องศาลากวนแอ่ว พี่ก็กกกอดอุ้มเอาน้องเข้าบ่อนนอน (กา).

กฎกระทรวง

หมายถึงข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้เรียก กฎกระทรวง ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงปฏิบัติให้ถูกต้องตามตำแหน่งของตนๆ.

กรรมชา

หมายถึงผู้เกิดแต่กรรม คนที่สร้างกรรมดีไว้ เมื่อเกิดมาก็เกิดในพ่อแม่ที่ดี มีอวัยวะครบ ไม่ใบ้บ้าเสียจริต ผิดมนุษย์ มีสติปัญญาดี ถ้าสร้างกรรมไม่ดีก็เกิดมาในที่ตรงกันข้าม.

ขี้หนอน

หมายถึงชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ใบใช้กันหนอน รากใช้ทำยา เอาใบมาวางไว้ปากไห กันหนอนได้ดีนักแล เพราะใบนี้กันหนอนได้ คนโบราณจึงเรียก ใบขี้หนอน.

ใจเมือง

หมายถึงนางกษัตริย์ เรียก ใจเมือง อย่างว่า มีท่อเยาวยอดแก้วเป็นมิ่งใจเมือง นางลุนมีแม่เดียวเทียมท้าว ปรากฏแก้วสุมุณฑาธรงฮูป โฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์).

โพด

หมายถึงเลย เกิน กินเกินเรียก กินโพด นอนเกินเรียก นอนโพด พูดเกินเรียก เว้าโพด ทำอาหารใส่เกลือเกินเรียก โพดเกลือ ใส่ปลาร้าเกินเรียก โพดปลาแดก อย่างว่า เถ้าแถลงพ้นโพดความ (สังข์) ชื่อว่าผิดโพดพ้นนักขิ่นขอวอนไว้ก่อน ตางดูใจใช่อันดีฮ้าย ฟังกลอนอั้วอามคายขานขอบ เฮาพี่น้องทังค้ายคู่คน (ฮุ่ง).

สมถกรรมฐาน

หมายถึงอุบายสงบใจ ใจที่มีราคะความกำหนัด โทสะความประทุษร้ายและโมหะความลุ่มหลง กิเลสสามตัวนี้ทำให้ใจวุ่นวาย ไม่สงบ ถ้าอยากให้สงบต้องเอาสมถกรรมฐานมาข่มไว้ การเจริญธรรมอย่างนี้เรียก เจริญสมถกรรมฐาน.

เฮียงฮ่วม

หมายถึงร่วมเรียง อย่างว่า เชิญหม่อมมาเสวยเข้าสาลีเฮียงฮ่วม พี่ก็ตั้งแต่งถ้าถนอมไว้แต่นาน แล้วเด เอื้อยนี้แนวนามเชื้อฉันเดียวโดยชาติ เชิญหม่อมมาจอดยั้งยาย้านเกลียดกลัว พี่ถ้อน (สังข์) เมื่อนั้นทุกที่ให้โฮมฮอดหมอโหร เขาก็ยอกระดานหินวาดดูกงแก้ว ชาตาได้อัครราศีเฮียงฮ่วม ราหูผาดผ้ายผันใกล้ฮ่วมจันทร (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ