ค้นเจอ 60 รายการ

ข้าวคั่ว

หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำข้าวสารเจ้าหรือข้าวสารเหนียวที่แห้ง นำไปคั่วจนสุกกรอบ แล้วนำไปบด

ท้าว

หมายถึงคำแทนใช้นำหน้าเรียกคน

เนาะ

หมายถึงเป็นคำพูดชักชวน เช่น ไปนำกันเนาะ กินนำกันเนาะ เป็นคำที่ใช้ยืนยัน เช่น อีหลีล่ะเนาะ แปลว่า ก็จริงน่ะสิ

หม่าข้าว

หมายถึงแช่ข้าวสาร (ข้าวเหนียว) ให้น้ำให้ข้าวอ่อนก่อนนำไปนึ่ง

กฎธรรมดา

หมายถึงธรรมดาคืออาการหรือความเป็นไปของคนและสัตว์ เมื่อคนและสัตว์เกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องเป็นไปตามธรรมดาของโลก ธรรมดาของโลกนั้นจะต้องกิน จะต้องนอน จะต้องป้องกันภัยอันตราย จะต้องสืบพันธุ์คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะเป็นอย่างนี้ นี่คือกฎของธรรมดา.

ไตรสิกขา

หมายถึงสิกขา 3 คือ ศีล เรียก สีลสิกขา ษมาธิ เรียก จิตสิกขา ปัญญา เรียก ปัญญาสิกขา.

เนื้อแดดเดียว

หมายถึงอาหารอีสานที่ทำจากเนื้อวัว หมักด้วยเกลือ น้ำปลา แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง สามารถนำไปทำอาหารำได้ทั้งทอด และย่าง

ก้อนเส่า

หมายถึงก้อนเส่า คือนำก้อนหิน 3 ก้อน วางไว้เพื่อตั้งหม้อทำกับข้าว หรือทำเป็นเตาไฟ

ยากไฮ้

หมายถึงยากจนไม่มีอะไรจะกิน อย่างว่า ทุกข์ยากไฮ้ให้ได้อยู่นำกัน กลอยมันมีชิค่อยหาเอาเลี้ยง (ภาษิต).

แจบกระใจจิด

หมายถึงไม่แน่ใจ

กงจักร

หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลม เช่น กงเกวียน กงล้อ กงรถ เรียก กงจักร อย่างว่า นำกงจักรจากไปปอมเว้น (สังข์)

ปลงกรรมฐาน

หมายถึงพิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ