ค้นเจอ 40 รายการ

ข่อนสิแจ้ง

หมายถึงเวลาใกล้รุ่ง,ใกล้สว่าง,ใกล้ฟ้าสาง

กรรมวาจา

หมายถึงคำสวดในพิธีทำสังฆกรรม เช่น สวดกรรมวาจาในเวลาอุปสมบท.

ไค

หมายถึงทุเลา เบา ดีขึ้น เวลาเจ็บป่วยอาการป่วยทุเลา เรียก ไค ไคแน่ ไคหลาย ก็ว่า.

ไหย้

หมายถึงบังเหียน บังเหียนที่ใช้สวมปากม้าเวลาขี่ เรียก ไหย้ม้า บังเหียน หมากเหียน ก็ว่า.

กกหูก

หมายถึงด้ายหรือไหมที่ตัดไว ้ติดกับฟืม กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูก ในเวลาจะทอครั้งต่อไป

กงสะเด็น

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งมีผล เวลาผลแก่เต็มที่ผลจะแตกกระเด็นตกไปในที่ไกล เรียก ต้นกงสะเด็น

กรรมวาจาจารย์

หมายถึงอาจารย์สวดกรรมวาจาฝ่ายขวา คู่กับพระอนุสาวนาจารย์ อาจารย์ส่วนกรรมวาจาฝ่ายซ้ายในเวลาอุปสมบท.

กกหูก

หมายถึงด้ายหรือไหมที่ตัดไว้ติดกับฟืม เรียก กกหูก กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูกในเวลาจะทอครั้งต่อไป

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

กนิษฐภคินี

หมายถึงน้อง (ป.ส.) อย่างว่า บ่ได้สุขอยู่สร้างเสวยราชเป็นพระยา คนิงแพงศรีชู่วันมีเอื้อน กำสุดโอ้กนิษฐาเจ้าพี่กูเอย ปานนี้ยักษ์ฆ่าเจ้ากินแล้วฮู้ว่ายัง นั้นเด(สังข์).

กะ

หมายถึง1. ก็ 2. กำหนด, หมาย, คะเน, ประมาณการทำที่ต้องกำหนดวัน เวลา และจำนวนให้เรียก กะ เช่นงานชิ้นนี้ต้องทำให้สำเร็จภายในเจ็ดวัน ในวันที่เจ็ดต้องให้ทำสำเร็จก่อนเที่ยง.

กุศลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ