ค้นเจอ 21 รายการ

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึงกรรมฐานที่ให้พิจารณาส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีหนังเป็นที่ 5.

แม่น

หมายถึงใช่ คำว่า แม่น ภาษาอีสานจะออกเสียงว่า แม็น (เสียงสั้น) จะไม่ได้ออกเสียง แม่น ที่แปลว่า เที่ยงตรง ถูกต้อง

กะไต

หมายถึงกรรไกร กรรไกรสำหรับตัดผมเรียก มีดกะไต มีดตะไก ก็ว่า.

ปลงกรรมฐาน

หมายถึงพิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา.

กงโลก

หมายถึงทั่วโลก เขตจักรวาลหรือโลกเรียก กงโลก อย่างว่า ควรที่อัศจรรย์ล้ำโลกา กงโลก มีในห้าสิบชาติ แท้เทียวใช่ส่งเวร (สังข์)

กรรมพันธุ

หมายถึงมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เช่น พ่อแม่เป็นคนดีลูกที่เกิดมาก็พลอยดีไปด้วย อย่างว่า เชื้อหมากต้องบ่ห่อนหล่นไกลกก แนวผมดกบ่ห่อนเป็นหัวล้าน (กลอน).

กะซาก

หมายถึง(กริยา) กระชาก ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระซากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระซาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระซากเสียง

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

โพด

หมายถึงเลย เกิน กินเกินเรียก กินโพด นอนเกินเรียก นอนโพด พูดเกินเรียก เว้าโพด ทำอาหารใส่เกลือเกินเรียก โพดเกลือ ใส่ปลาร้าเกินเรียก โพดปลาแดก อย่างว่า เถ้าแถลงพ้นโพดความ (สังข์) ชื่อว่าผิดโพดพ้นนักขิ่นขอวอนไว้ก่อน ตางดูใจใช่อันดีฮ้าย ฟังกลอนอั้วอามคายขานขอบ เฮาพี่น้องทังค้ายคู่คน (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ