ค้นเจอ 29 รายการ

ไกว่หล่อ

หมายถึงขุดดินใต้ชายคาให้เป็นร่องเพื่อกันน้ำที่ตกจากชายคาไม่ให้ไหลเข้าไปใต้ถุนเรือน เรียก ไกว่หล่อ ดินที่ขุดดั้นเป็นคูเรียก ป้องหล่อ.

ทัวระกรรม

หมายถึงการทำให้ได้รับความลำบาก เช่น ถูกฆ่าตีบีท์โบยเกือบจะเอาชีวิตไว้ไม่รอด เรียก ทัวระกรรม.

อนันตริยกรรม

หมายถึงกรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.).

ไตรวิชชา

หมายถึงวิชชา 3 คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ วิชชารู้ความเกิดตายของคนและสัตว์ และวิชชารู้ในการทำให้สิ้นกิเลส.

กฎอัยการศึก

หมายถึงกฎหมายที่ตราขึ้นใช้ในเวลาที่จำเป็น เช่นเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกสงครามหรือความไม่สงบจะต้องตรากฎหมายขึ้นใช้ในภาวะเช่นนี้ กฎหมายนี้เรียก กฎอัยการศึก อำนาจบริหารบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจทหาร ทหารจะใช้กฎนี้ไปจนกว่าบ้านเมืองจะสงบสุข.

ขี้โพ่

หมายถึงหนทางที่เป็นโคลน มีน้ำขังเป็นแอ่ง วัวควายขี้เยี่ยวใส่ทำให้น้ำเน่าเสีย ที่เช่นนี้เรียก ขี้โพ่ ขี้ตมโพ่ ก็ว่า.

กะ

หมายถึง1. ก็ 2. กำหนด, หมาย, คะเน, ประมาณการทำที่ต้องกำหนดวัน เวลา และจำนวนให้เรียก กะ เช่นงานชิ้นนี้ต้องทำให้สำเร็จภายในเจ็ดวัน ในวันที่เจ็ดต้องให้ทำสำเร็จก่อนเที่ยง.

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

สมถกรรมฐาน

หมายถึงอุบายสงบใจ ใจที่มีราคะความกำหนัด โทสะความประทุษร้ายและโมหะความลุ่มหลง กิเลสสามตัวนี้ทำให้ใจวุ่นวาย ไม่สงบ ถ้าอยากให้สงบต้องเอาสมถกรรมฐานมาข่มไว้ การเจริญธรรมอย่างนี้เรียก เจริญสมถกรรมฐาน.

กฎบ้าน

หมายถึงระเบียบที่ชาวบ้านร่วมกันบ้านร่วมกันตั้งขึ้น เรียก กฎบ้าน เช่นการปลูกเรือน ใครจะปลูกเรือนจะต้องไปช่วยเหลือกันทั้งผู้หญิงผู้ชาย ผู้หญิงไปหาอาหารมาเลี้ยง ผู้ชายไปจัดการปลูกทำให้เสร็จในวันเดียว การดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว ถ้ามีความจำเป็นก็ขอแรงญาติให้ไปช่วย

ปลาจ่อม

หมายถึงเป็นอาหารหมัก คล้ายปลาร้า ได้จากการนำปลาขนาดเล็กมาล้างทำความสะอาด หมักกับเกลือผสมข้าวคั่ว และกระเทียมบด บรรจุในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หมักในระยะเวลาที่เหมาะสมจนมีรสเปรี้ยวควรทำให้สุกก่อนบริโภค และยังสามารถนำกุ้งฝอยมาทำได้เช่นกัน เรียกว่า กุ้งจ่อม

สมบัติคูณเมือง

หมายถึงสมบัติที่ทำให้บ้านเมืองเจริญ เรียกสมบัติคูณเมือง มี ๑๔ อย่าง คือ หูเมือง ตาเมือง แก่นเมือง ประตูเมือง ฮากเมือง เหง้าเมือง ขื่อเมือง ฝาเมือง ขางเมือง เขตเมือง สติเมือง ใจเมือง คำเมือง เมฆเมือง (ประเพณี).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ