ค้นเจอ 58 รายการ

ไหล่ถนน

หมายถึงส่วนของทางหลวงที่ติดอยู่กับทางทั้ง ๒ ข้าง.

กบิล

หมายถึง1.)ลิง (ส. กปิล). 2.)ระเบียบ,แบบ,ทาง เช่น กบิลความ กบิลเมือง อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางประถมเถ้าเชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์).

ไฮ่

หมายถึงไร่ ที่สำหรับปลูกพืชในป่าดง เรียก ไฮ่ อย่างว่า เฮ็ดนาอย่าเสียไฮ่ เลี้ยงไก่อย่าเสียฮัง (ภาาิต) หมายไฮ่ให้สุดชั่วแสงตา หมายนาให้สุดชั่วเสียงฮ้อง (ภาษิต) เป็นดั่งแสนส่ำห้อยน้ำผ่าเขาเขียว ไหลมาโฮมวังขวางสู่คุงคาเสี้ยง ชายหนึ่งทำนาแล้วทวนเทียวทำไฮ่ ฝังลูกเต้าแตงพร้อมถั่วงา (ฮุ่ง).

ข่อง

หมายถึง1.ภาชนะสำหรับใส่ปลา 2. เกี่ยว หรือ สะดุด

กรรแสง

หมายถึง1.)ผ้าสะไบ (ข.กำแซง). 2.)ร้องให้.

เลาะ

หมายถึง1. แวะรายทาง, เตร็ดเตร่ไปเรื่อย 2. เลียบไปตามชายฝั่ง

ดาวดิงส์

หมายถึงชื่อสวรรค์ชั้นที่ 2 ในจำนวนสวรรค์ 6 ชั้น คือ จาตูม ดาวดิงส์ ยามา ดุสิต นิมมา ปรนิมมิต สวรรค์ชั้นดาวดิงส์นี้พระอินทร์เป็นผู้ครอง อย่างว่า บาล่วงเท้านครใหญ่นาโค เชียงทองเกษิมส่ำราญเฮืองเหล้ม อุดมด้วยดาวดิงส์เทวโลก แก้วกู่ส้วยใสต้องชั่วปรางค์ (สังข์).

ไตรตรึงษ์

หมายถึงดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นที่ 2 คือ ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นชั้นที่พระอินทร์ครอง.

กระจอน

หมายถึงตุ้มหู เครื่องประดับหูของหญิงสาว ทำด้วยเงิน ทอง ทองคำ มี 2 ชนิด

กร

หมายถึง1.) มือ 2.) ผู้ทำ ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่นกรรมกร ผู้ทำการงาน (ป.).

กตัญญูกตเวที

หมายถึงผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณท่าน พึงทราบบุคคลหาได้ในโลก ๒ จำพวกคือ ๑.บุพพการี ผู้ทำอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณ บุพพการีมี ๔ จำพวก คือ ๑.พ่อแม่ ๒.ครูบาอาจารย์ ๓.เจ้านายผู้ปกครอง ๔.พระพุทธเจ้า

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ