ค้นเจอ 42 รายการ

ทัวระกรรม

หมายถึงการทำให้ได้รับความลำบาก เช่น ถูกฆ่าตีบีท์โบยเกือบจะเอาชีวิตไว้ไม่รอด เรียก ทัวระกรรม.

ออกกรรม (ญ)

หมายถึงการที่หญิงอยู่ไฟครบกำหนดแล้วออก เรียก ออกกรรม หญิงสาวอีสานที่มีลูกครบกำหนด เมื่อออกลูกแล้วต้องอยู่ไฟ สำหรับท้องสาวอยู่ไฟครบสิบห้าวัน ท้องคนต่อไปอยู่สิบวันหรือเจ็ดวันก็ได้ เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทำพิธีออกจากไฟ เรียก ออกกรรม.

กรรมบถ

หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม

กฎวัด

หมายถึงระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง

กฎศีล

หมายถึงศีลคือข้อห้าม ศีลของศาสดาแต่ละศาสนาบัญญัติไว้ไม่เหมือนกัน สำหรับพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดา ได้บัญญัติศีลแด่พุทธบริษัทไม่เคร่ง ไม่หย่อน พอเหมาะพอดี ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้ก็มีความร่มเย็นเป็นสุขไม่มีภัย ไม่มีเวร ประสบแต่ความสุขความเจริญ

กฎ (จด)

หมายถึงจด บันทึก การจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเรียก กฎ อย่างว่า ก็จิ่งลงลายแต้มกฎเอาคำปาก (ฮุ่ง).

กฎ (ระเบียบ)

หมายถึงประเพณี ระเบียบ ข้อบังคับ ระเบียบที่คนหมู่หนึ่งคณะหนึ่งวางไว้ เพื่อให้คนหมู่หนึ่งในคณะทำเสมอกัน.

กฎธรรม

หมายถึงธรรมะ คือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติมีมากมายก่ายกอง เมื่อจะสรุปลงคงได้แก่สุจริต คือความประพฤติดีทางกาย เรียก กายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียก วจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียก มโนสุจริต

กฎบ้าน

หมายถึงระเบียบที่ชาวบ้านร่วมกันบ้านร่วมกันตั้งขึ้น เรียก กฎบ้าน เช่นการปลูกเรือน ใครจะปลูกเรือนจะต้องไปช่วยเหลือกันทั้งผู้หญิงผู้ชาย ผู้หญิงไปหาอาหารมาเลี้ยง ผู้ชายไปจัดการปลูกทำให้เสร็จในวันเดียว การดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว ถ้ามีความจำเป็นก็ขอแรงญาติให้ไปช่วย

กฎกรม

หมายถึงกรมหรือหน่วยงานย่อยที่แยกออกจากหน่วยงานใหญ่ แต่ละกรมมีอธิบดีกรมเป็นหัวหน้า ข้อบัญญัติที่เจ้ากรมออกไว้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรียก กฎกรม ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวง เจ้าทบวง เจ้ากรมบัญญัติจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ถ้าขัดกับกฎหมาย ข้อบัญญัติก็เป็น โมฆะหรือ โมฆียะ.

สกรรมกริยา

หมายถึงกริยาที่ต้องมีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ.

ยถากรรม

หมายถึงตามกรรม ตามแต่จะเป็นไป (ป.ส. ยถากมฺม).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ