ค้นเจอ 25 รายการ

แม่น

หมายถึงใช่ คำว่า แม่น ภาษาอีสานจะออกเสียงว่า แม็น (เสียงสั้น) จะไม่ได้ออกเสียง แม่น ที่แปลว่า เที่ยงตรง ถูกต้อง

งอนต่อ

หมายถึงท้ายทอย (อีสานบน)

ไอ่

หมายถึงชื่อมเหสีของท้าวผาแดง ในวรรณคดีอีสาน เรื่อง ผาแดงนางไอ่ อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าตนพ่อปิตา จิ่งได้หานามกรแก่นางนงน้อย ชื่อว่าสอยวอยหน้ากัลยานางไอ่ อันแต่ขงเขตใต้ลือน้อยว่างาม (ผาแดง).

ข้าวต้มแดก

หมายถึงเป็นขนมหวาน คล้ายกับข้าวต้มมัด แต่ต่างกันตรงที่ข้าวต้มแดกจะใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ตำผสมกับกล้วยสุกบด แล้วห่อด้วยใบตอง คำว่า แดก ในภาษาอีสานจะหมายถึงการตำ, อัดให้แน่น, ยัดเข้าในภาชนะ เช่น ปลาแดก, ข้าวต้มแดก เป็นต้น

ข้าวโป่ง

หมายถึงข้าวเกรียบอีสาน

หมก

หมายถึงห่อหมก เป็นการทำอาหรโดยห่อด้วยใบตอง ใบยอ หรือใบอื่น ๆ โดยคนอีสานจะนิยมนำไปเผาไฟ หรือนึ่ง

กรกฎาคม

หมายถึงเดือนกรกฎาคม อีสานเรียกเดือนแปด เรียกเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ.

ไกสร

หมายถึงชื่อนางในวรรณคดีอีสานเรื่องสุริย์วงศ์ ชื่อ นางไกสร เกสรก็ว่า.

กงหัน

หมายถึงระหัด พัดลม เครื่องวิดน้ำเข้านา เรียก กงพัด กงหัน ก็ว่า คนโบราณอีสานเมื่อต้องการน้ำในแม่น้ำขึ้นมาทำนาก็ใช้กงพัดหรือกงหัน ดึงเอาน้ำขึ้นมา เรียก หมากปิ่น ก็ว่า อย่างว่า เชื่อกงหันลมต้องปิ่นหันลิ่นลิ่นปานคนหมุน(กลอน).

ไข่ผำ

หมายถึงไข่น้ำ เมล็ดของแหน เป็นพืชในตระกูลแหน เรียก หมากไข่ผำ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันตรวจสอบพบว่ามีโปรตีนมาก ชาวอีสานนำไปปรุงอาหารต้มแกงกิน มีรสอร่อยมาก เดี๋ยวนี้เหลืออยู่จำนวนน้อยแล้ว. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง มีเม็ดเล็กๆ คล้ายตัวเหา เรียก หญ้าไข่เหา.

ไหว้วาน

หมายถึงขอร้องให้ช่วยงาน เรียก ไหว้วาน ประเพณีอีสาน เวลามีความจำเป็นจะไปไหว้วานญาติพี่น้องให้มาช่วยงาน เช่น ปลูกเฮือน ดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว หาบข้าว ตำข้าว และช่วยในงานการกุศลต่างๆ โดยไม่มีค่าจ้างตอบแทน มีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารตามธรรมเนียม.

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ