ค้นเจอ 111 รายการ

ทัวระกรรม

หมายถึงการทำให้ได้รับความลำบาก เช่น ถูกฆ่าตีบีท์โบยเกือบจะเอาชีวิตไว้ไม่รอด เรียก ทัวระกรรม.

ออกกรรม (ญ)

หมายถึงการที่หญิงอยู่ไฟครบกำหนดแล้วออก เรียก ออกกรรม หญิงสาวอีสานที่มีลูกครบกำหนด เมื่อออกลูกแล้วต้องอยู่ไฟ สำหรับท้องสาวอยู่ไฟครบสิบห้าวัน ท้องคนต่อไปอยู่สิบวันหรือเจ็ดวันก็ได้ เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทำพิธีออกจากไฟ เรียก ออกกรรม.

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

กรรมบถ

หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม

ยถากรรม

หมายถึงตามกรรม ตามแต่จะเป็นไป (ป.ส. ยถากมฺม).

กรรมขัย

หมายถึงการสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น ตายเพราะหมดอายุ เป็นต้น.

มหายุทธกรรม

หมายถึงการรบใหญ่ อย่างว่า มหายุทธกรรมบั้นเล็วสรวงเศิกใหญ่ แล้วท่อนี้ถวายไท้พระยอดคุณ แท้แล้ว (สังข์).

กรรมานุรูป

หมายถึงเหมาะสมแก่กรรม, ควรแก่การงาน (ส.).

เสี่ยงบุญเสี่ยงกรรม

หมายถึงลองดูว่าจะดีหรือไม่ ทั้งนี้ก็แล้วแต่บุญกรรมที่ทำมา.

อกรรมกิริยา

หมายถึงกิริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (ส.).

อโหสิกรรม

หมายถึงกรรมที่เลิกให้ผล การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน เรียกเพียงคำว่า อโหสิ ก็มี (ป.).

วสี

หมายถึงผู้ชำนะตนเอง ผู้สำรวมอินทรีย์ ผู้ตัดกิเลส ผู้ชำนาญ (ป.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ