ค้นเจอ 489 รายการ

จั่ง

หมายถึงถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น.

แหลวคำ

หมายถึงเหยี่ยวแดง เหยี่ยวที่มีหงอนแดง เรียก แหลวคำ อย่างว่า แม้งหนึ่งสูรย์คลาดคล้อยใกล้ค่ำออระชอน คับคาเห็นแหลวคำดั่งบนบินเค้า อันนั้นรือบ่ภูธรไท้จอมหัวท้าวกว่า กูนี้ เดินดุ่งเต้าเอาน้องเพื่อนเพลา แลชาม (ฮุ่ง).

เอิ้น

หมายถึงเรียก, ร้อง, ป่าวประกาศ

ขาบ

หมายถึงกราบ (เป็นคำเก่า)

ผญาหย่อย

หมายถึงคำไพเราะ คำผญา

ไตรทวาร

หมายถึงทวารทั้ง 3 คือ กาย เรียก กายทวาร วาจา เรียก วจีทวาร ใจ เรียก มโนทวาร.

ก๊มโก๋ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งค่อม และมักจะมีคำสร้อยต่อว่า ก๊มโก๋ะก๊มโก้ย ก๊งโก๋ะ ก็เรียก

ไตรสิกขา

หมายถึงสิกขา 3 คือ ศีล เรียก สีลสิกขา ษมาธิ เรียก จิตสิกขา ปัญญา เรียก ปัญญาสิกขา.

กุ้น

หมายถึงสั้น, สั้นมาก กิ้น ก็เรียก

กิ้น

หมายถึงสั้น, สั้นมาก กุ้น ก็เรียก

ดึก

หมายถึงดึก, มืดค่ำ เดิก ก็เรียก

ไหล่เขา

หมายถึงส่วนของเขาที่ถัดยอดเขาลงมาเรียก ไหล่เขา.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ