ค้นเจอ 210 รายการ

แหลวคำ

หมายถึงเหยี่ยวแดง เหยี่ยวที่มีหงอนแดง เรียก แหลวคำ อย่างว่า แม้งหนึ่งสูรย์คลาดคล้อยใกล้ค่ำออระชอน คับคาเห็นแหลวคำดั่งบนบินเค้า อันนั้นรือบ่ภูธรไท้จอมหัวท้าวกว่า กูนี้ เดินดุ่งเต้าเอาน้องเพื่อนเพลา แลชาม (ฮุ่ง).

ให้ค่อยทำ

หมายถึงทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).

คันจ้อง

หมายถึงชื่อร่มกั้นแดดชนิดหนึ่งทำด้วยผ้า เรียก ฮ่มจ้อง อย่างว่า เชื้อชาติจ้องคันก่องกะยังหุบ บาดห่าชาตาหลุบหลูบลงคือจ้อง บาดห่าชะตาขึ้นขวางคือขอนก้เลยล่อง คาดชิล้มหยุมหญ้าบ่ฟัง (กลอน).

ก่ง

หมายถึงทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).

ไก่

หมายถึงสัตว์จำพวกมีปีก มีหลายชนิด เช่น ไก่ที่มีฤทธิ์เดช สามารถสู้รบตบตีได้ชัยชนะไม่มีแพ้ เรียก ไก่แก้ว ไก่ที่มีขนหางงอนลง มีขนไม่ดก คนชอบเอาไปเลี้ยงผีปูผีตาผีตาแฮก เรียก ไก่กุ้ม ไก่ป่า เรียก ไก่ขัว ไก่ที่มีเหนียงหย่อนลงเหมือนงวงช้าง เรียก ไก่งวง .

ฮ้องฮว่าน

หมายถึงร้องดังกังวาล อย่างว่า ฟ้าฮ้องฮ่วนผู้ใดอยากม่วนให้ปะเมียมา ปะเมียมาแล้วสตางค์แดงบ่ให้แต่ง ชิให้เจ้าด้องแด้งนอนถ้าอยู่เฮือน (กลอน) พระบาทเจ้ามีอาจกลัวเกรงสน่อยนั้น ภูธรถอนแม่ธนูปุนเปลื้อง หลังหักค้นครางตายฮ้องฮ่วน มันเล่ายังพ่นฟ้งไฟไหม้ลวบลน (สังข์).

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

ไกว

หมายถึงแกว่ง อย่างว่า ฟังยินลมล่วงต้องไกวกิ่งสาขา พุ้นเยอ สุรภาเบยบ่ายสีแสงส้วย ยุติบั้นสุมณฑาทังไพร่ ไปชมสวนดอกไม้ยอไว้ที่ควร ก่อนแล้ว (สังข์) ดอกหนึ่งสาวบ่าวค้านสงสัยต้นบ่สูงพอไคแค่หน้า ดวงหนึ่งเมื่อลมไหวฮสฮ่วง ลุกทั่วดินแดนฟ้าท่วยไท้ถือวี (ฮุ่ง).

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

ไก้

หมายถึงกระจง ชื่อสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง ที่เขามีหงอน เรียก ไก้ เขาของไก้รูปร่างคล้ายมะพริกสุก เขานี้ป้องกันภัยอันตรายได้ ไก้ตัวใดถ้าเขายังมีอยู่จะแคล้วคลาดจากศัตรูทั้งมวล อย่างว่า มอมเยืองไก้หนูซิงกระแตต่าย กะเล็นฮอกจ้อนเหนอ้มห่านหอน (สังข์).

กระกูล

หมายถึงตระกูล, เชื้อ, สาย, เหล่า, กอ, เผ่าพันธุ์เรียก กระกูล สกุล ตระกูล ก็ว่า อย่างว่า พระยานาคน้าวกลอนถี่ถามดู กุมารมาแต่ใดเถิงข้อย นั่นเด จักว่าเป็นแนวเชื้อกะกูลนามในทีปใดเด เจ้าพ่อทรงเดชได้เดินดั้นฮอดเฮา นี้นา (สังข์) .

ฮ้องฮ่ำ

หมายถึงร่ำร้อง อย่างว่า ฟังยินซุงพาทย์พร้อมปนปี่แถมแถ นางกะสิงประดับแกว่งแพนเฟือยฟ้อน เสียงฉันแก้วกินรีฮ้องฮ่ำ ประดับคาดฮ้อยเฮียงเส้นคาดคีง (สังข์) ฟังยินเค็งเค็งฟ้าเทิงหัวฮ้องฮ่ำ พุ้นเยอ แซวอั่นฝ้ายฝันชู้ฮุ่งจวน (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ