ค้นเจอ 180 รายการ

แมงอีนูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงจินูน ก็เรียก

แมงกินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงจินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

เสี่ยว

หมายถึงเพื่อนรักเพื่อนแท้ที่เป็นเพื่อนกันโดยพิธีผูกเสี่ยว สหาย มิตร เพื่อน เกลอ คนที่มีรูปร่างหรือนิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียก เสี่ยว อย่างว่า โขโนเจ้าพรานสวงสองเสี่ยว (กาไก).

โบม

หมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งทำด้วยไม้นำมาขุดเป็นรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว และยังใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามเป็นสำรับ กระบม หรือ กระบม ก็เรียก

กระบม

หมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งทำด้วยไม้นำมาขุดเป็นรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว และยังใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามเป็นสำรับ กระโบม หรือ โบม ก็เรียก

กระโบม

หมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งทำด้วยไม้นำมาขุดเป็นรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว และยังใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามเป็นสำรับ กระบม หรือ โบม ก็เรียก

กบิล

หมายถึง1.)ลิง (ส. กปิล). 2.)ระเบียบ,แบบ,ทาง เช่น กบิลความ กบิลเมือง อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางประถมเถ้าเชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์).

ขีน

หมายถึงไม่ชอบหน้า, ไม่พอใจ, ไม่ชอบ ขืน, ฝืน อย่างว่า ว่าเล่าทำเปืองปุ้นสมคามคลาที่ ดั่งนั้น ลุลาภพร้อมใจป้าห่อนขีนเมื่อใด (ฮุ่ง). ขัด อย่างว่า เมื่อนั้นสองแม่ป้าโลมลูกเอาใจ ก็บ่ขีนกุมารมอบศรศิลป์แก้ว บาก็ยินดีแท้ธรงศรขัดดาบ สองแม่ป้าเฮียงข้างลูบเลิง (สังข์). ขัดขืน อย่างว่า นางก็โจมแจ่มเจ้าองค์อ่อนยอมใจ ก่อนเถิ้น อาบ่มีขีนขืฃัดซิค่อยเติมตามน้อย (สังข์).

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

แฮกเสี่ยว

หมายถึงผูกมิตร การผูกมิตร เรียก แฮกเสี่ยว คำว่า เสี่ยว ได้แก่ มิตร สหาย เพื่อน หรือ เกลอ การผูกเสี่ยวจะทำเป็นพิธีเสียเหล้าไหไก่ตัวเพื่อเลี้ยงดูกัน หรือคนสองคนเมื่อสมัครรักใคร่กันแล้วผูกข้อต่อแขนด้วยด้ายเพียงสองเส้นก็ได้ ผู้หญิงจะเป็นเสี่ยวกับผู้ชาย หรือผู้ชายจะเป็นเสี่ยวกับผู้หญิงก็ได้ ขออย่างเดียวขอให้รักสมัครสมานประสานสามัคคีกันไปจนตลอดชีวิต การผูกเสี่ยวเป็นประเพณีที่ชาวอีสานนับถือมาแต่ดึกดำบรรพ์ ผ๔้เป็นเจ้าของประเพณีนี้ก็คือบรรพบุรุษอีสาน ถือว่าท่านฉลาดและหลักแหลมนัก ถ้าโลกทั้งโลกเป็นมิตรสหายกัน เรื่องฆ่าตีบีฑ์โบยลักเล็กขโมยน้อย หรือเรื่องวิวาทบาดหมางแย่งอำนาจวาสนากันคงไม่เกิดขึ้นแน่ ถ้าคนในโลกนี้เกี่ยวข้องกันในการเป็นมิตรสหายกัน.

ให้ค่อยแก้

หมายถึงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)

กดหน้า

หมายถึงก้มหน้า ธรรมเนียมคนโบราณถือการยืนเป็นการเคารพอย่างสูง เมื่อเข้าเฝ้าเจ้านายจะต้องก้มหน้า การก้มหน้านี่แหละเรียก กดหน้า อย่างว่า หลายส่ำถ้วนทุกปากปุนแถลง สองนายเมืองผ่อกายกดหน้า สาวกระสันเยื้อนใยความประสงค์สวาก เจ้าพี่ข้อยลืมน้องหน่ายแหนง (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ