ค้นเจอ 171 รายการ

ให้ค่อยแก้

หมายถึงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)

กดหน้า

หมายถึงก้มหน้า ธรรมเนียมคนโบราณถือการยืนเป็นการเคารพอย่างสูง เมื่อเข้าเฝ้าเจ้านายจะต้องก้มหน้า การก้มหน้านี่แหละเรียก กดหน้า อย่างว่า หลายส่ำถ้วนทุกปากปุนแถลง สองนายเมืองผ่อกายกดหน้า สาวกระสันเยื้อนใยความประสงค์สวาก เจ้าพี่ข้อยลืมน้องหน่ายแหนง (สังข์).

กรน

หมายถึงหายใจเสียงดังในลำคอเมื่อเวลานอนหลับ เรียก กรน อย่างว่า ฟังยินเสียงกรนก้องคุงบนคีคื่น (กา) เมื่อนั้นยักษ์ใหญ่ฮู้นางเคียดคุงใจ มันก็โลมนางหลับแค่ปรางค์ดอมน้อง ฟังยินเสียงกรนก้องพระมุณเทียรทีโทด คือคู่กุญชราชฮ้องเสียงก้องคั่งบน แท้แล้ว (สังข์).

ไก่

หมายถึงสัตว์จำพวกมีปีก มีหลายชนิด เช่น ไก่ที่มีฤทธิ์เดช สามารถสู้รบตบตีได้ชัยชนะไม่มีแพ้ เรียก ไก่แก้ว ไก่ที่มีขนหางงอนลง มีขนไม่ดก คนชอบเอาไปเลี้ยงผีปูผีตาผีตาแฮก เรียก ไก่กุ้ม ไก่ป่า เรียก ไก่ขัว ไก่ที่มีเหนียงหย่อนลงเหมือนงวงช้าง เรียก ไก่งวง .

แนม

หมายถึงมองตาม มองดู อย่างว่า บัดนี้กาละนับมื้อส้วยงัวควายบ่ได้ปล่อย เด็กน้อยเป็นผู้เลี้ยงคนเถ้านั่งแนม (กลอน) สังมาแนมตาสิ้งหลิงตาบ่พอหน่วย (กา) อันว่าฮมฮักเจ้าเจืองลุนล้านส่ำอมโนนาถไท้แนมน้องบ่วาง (ฮุ่ง).

ก่ง

หมายถึงทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).

ฮาก

หมายถึง1.)ราก อาเจียน อาหารที่กลืนลงไปแล้วอาเจียนออกมาทางปาก เรียก ฮาก เช่น ฮากเข้า ฮากน้ำ ฮากขี้เพี้ย ฮากขี้โพ่น. 2.)ส่วนของต้นไม้ที่หยั่งลงไปในพื้นดิน เพื่อดูดเอาอาหารมาเลี้ยงลำต้น เรียก ฮากไม้ คนที่เป็นดุจรากไม้ดูดเอาอาหารมาเลี้ยงประเทศชาติให้เจริญ เรียก ฮากคน.

หลงเมือง

หมายถึงลืมบ้านเกิดเมืองนอน เรียก หลงเมือง ลืมเมือง ก็ว่า สถานที่เกิดเป็นจุดสำคัญของคนเรา ถ้าเราสร้างให้เจริญไม่ได้ก็อย่าทำลาย ถ้าบุญมาวาสนามีจงนำบุญบารมีของตนไปสร้างให้เจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไป อย่างว่า ยั่งยั่งหน้าท้าวท่านแองกา หลงเมืองพลัดพรากกันกอยให้ บาคราญต้านพอดีแล้วอย่า ขาก็คืนคอบเจ้าจอมไท้ที่เซ็ง (ฮุ่ง).

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

ไฮ่ (ตบ)

หมายถึงตบ ตี ตีฆ้อง เรียก ไฮ่ฆ้อง อย่างว่า ลมเป่งเปลื้องเฟือยข่าแคมภู สะพึนจันทร์ก่ายดอยดาวข้อน ยูงวอนก้องสันภูใกล้ฮุ่ง ค้อนไฮ่ฆ้องคนพร้อมแต่งครัว (ฮุ่ง) ช้างแกว่งฆ้องกะเิงห้าวไฮ่เสียง (กา) ค้อนไฮ่ฆ้องฮางป่าวตีเติน ฮมฮมยอผาลาแห่จอมเมือหน้า เสินเสินช้างพังพลายย้ายย่าง หลายส่ำข้าอวนเจ้าท่องทาง (ฮุ่ง).

กระจวน

หมายถึงผง, เกสร อย่างว่า นางก็เอากระจวนจันทน์คันธรส บดแหลกยิ่งหนักหนา ไปถวายบูชาพระพุทธเจ้า (เวส) เหมือยเร่งล้นพรมพั้วกาบกระจวน (สังข์). แตก, ไหม้, ละเอียด อย่างว่า ตัดแผ่นพื้นผาล้านมุ่นกระจวน (กา) เวียงใหญ่กว้างไฟไหม้มุ่นกระจวน (กาไก) เห็นมารเหยียดคู้คำโศกถือทวน คึดเมื่อยามเฮียงสมชอบคนิงมโนแค้น คีงแข็งกร้าวตีนมือทำถีบ ผ้าแผ่นปลิ้นกระจวนล้านเลือดนอง (สังข์).

ไข

หมายถึง-มันข้นในร่างกายคนและสัตว์เรียก ไขมัน. -ชื่อขมิ้นชนิดหนึ่ง เรียก เข้าหมิ้นไข. -(ก.)บอก กล่าว การบอกกล่าวให้รู้ เรียก ไขข่าว อย่างว่า แสนสัตว์น้อมโดยคดีไขข่าว พระก็ทรงพากย์ถ้อยเสียงเอิ้นแอ่วหา (สังข์). -(ก.)เปิด การเปิดประตูเรียก ไขปักตู ไขทวาร ก็เรียก อย่างว่า นางก็คึดฮ่ำฮู้คำปากเค็มแข็ง นางจิ่งไขทวารเผยส่องแลเล็งหน้า เห็นกษัตริย์เจ้านงเยาว์ยังอ่อน ดูเพศหน้าเหมือนเชื้อลูกหลาน (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ