ค้นเจอ 169 รายการ

ไต

หมายถึง1.)อวัยวะชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ เรียก ไต อนึ่งเนื้อที่เป็นก้อนแข็งอยู่ในเนื้อเรียก เนื้อเป็นไต. 2.)ขัน ถาด ขันหรือถาดเรียก ไต ไตคำ ก็ว่า 3.)แผ่นดิน แผ่นดินเรียก แผ่นไต

เกงญา

หมายถึงนางสาวน้อย, นางงาม หญิงที่มีรูปร่างสวยงาม เรียก เกงญา กัญญา ก็ว่า อย่างว่า นางนั้นแนนกล่อมเกี้ยวท้าวชื่อศรีวิชัย บิดาดลนิมิตรเยืองพระองค์แก้ ภายลุนเลยเสียแก้วเกงญาลูกมิ่ง ท้าวต่างตุ้มผันผายสิ่งลม (สังข์).

แหลว

หมายถึงเหลว สิ่งที่มีลักษณะไม่ข้นเรียก แหลว เช่นน้ำและน้ำมัน เป็นต้น อย่างว่า คื่นคื่นช้างย้องย่างเงยงา มันแหลวไหลอาบคีงคือน้ำ พลกือก้ามเต็มไพรฮ้องโห่ เขาก็จาจีกใส้กินแกล้มนี่นัน (สังข์).

โบม

หมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งทำด้วยไม้นำมาขุดเป็นรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว และยังใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามเป็นสำรับ กระบม หรือ กระบม ก็เรียก

กระโบม

หมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งทำด้วยไม้นำมาขุดเป็นรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว และยังใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามเป็นสำรับ กระบม หรือ โบม ก็เรียก

ไซดักปลาไหล

หมายถึงเครื่องมือดักปลาไหล มีลักษณะคล้ายแจกัน มีไส้ในสำหรับใส่เหยื่อทำจากไม้ไผ่สานมีรูปร่างสวยงาม ใช้สำหรับดักปลาไหลโดยเฉพาะ กู้อีจู้, สุ่มดักปลาไหล, ตุ้มใส่ปลาไหล, อีจู้, ลัน ก็เรียก

กระบม

หมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งทำด้วยไม้นำมาขุดเป็นรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว และยังใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามเป็นสำรับ กระโบม หรือ โบม ก็เรียก

กรรมวิธี

หมายถึงระเบียบ, แบบอย่าง, หลักการ การจะทำอะไรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต้องให้มีระเบียบแบบอย่าง จึงจะน่าดูน่าชม เช่น จะฟังเทศน์ ฟังคำสั่งสอน จะกราบจะไหว้ต้องให้มีครู อย่างว่า หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาด (ภาษิต) ถ้าไม่มีครูจะกลายเป็นว่าหมกปลาแดกหนอนน้อยบ่ตาย (ภาษิต).

โลด

หมายถึงเลย ทีเดียว ไปเลย เรียก ไปโลด กินเลย เรียก กินโลด ทำเลย เรียก เฮ็ดโลด อย่างว่า เลื่อนเลื่อนฟ้าไหลหลีกดารา พุ้นเยอ ทังหลายเลยพร่ำแลงนอนพร้อม แม้งหนึ่งสูรย์เคี่ยนขึ้นบัวระพาใสส่อง คอนขี่ม้าไปพร้อมโลดคราว (ฮุ่ง).

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

วันแฮม

หมายถึงวันพระจันทร์เริ่มอับแสงไปโดยลำดับ นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำไปจนถึงแรม ๑๕ ค่ำ เรียก วันแฮม การจะทำพิธีมงคลใดๆ เช่น ปลูกเฮือนขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญบวชทำบุญบ้านหรืองานฉลอง โบราณมักเลือกเอาวันข้างขึ้น เพราะวันข้างขึ้นถือว่าเป็นวันเจริญรุ่งเรือง.

ลัน

หมายถึงเครื่องมือดักปลาไหล มีลักษณะคล้ายแจกัน มีไส้ในสำหรับใส่เหยื่อทำจากไม้ไผ่สานมีรูปร่างสวยงาม ใช้สำหรับดักปลาไหลโดยเฉพาะ กู้อีจู้, สุ่มดักปลาไหล, ตุ้มใส่ปลาไหล, ไซดักปลาไหล, อีจู้ ก็เรียก

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ