ค้นเจอ 224 รายการ

ขี้มะเฮ็ง

หมายถึงมะเร็ง มะเร็งคือโรคขี้มะเฮ็ง ขี้มะเฮ็งอาจแยกได้เป็น 2 ชนิด ชนิดที่เป็นแอ่งเหมือนเป็นแอ่งน้ำขนาดตื้น มีน้ำหนองไหล และขนิดที่เป็นเนื้อเน่า.

ลอยเฮือไฟ

หมายถึงเรือที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือท่อนกล้วย ทำรูปคล้ายเรือ ภายในเรือมีข้าวต้ม ขนม ฝ้ายไนไหมหลอด จุดกะไต้แล้วปล่อยไปตามแม่น้ำในวันออกพรรษาของทุกปีเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทในแม่น้ำนัมมานที เรือที่ทำนี้เรียก เฮือไฟ การปล่อยเรือเรียก ปล่อยเฮือไฟ ไหลเฮือไฟ ก็ว่า.

บ้งขน

หมายถึงบุ้ง, หนอนผีเสื้อ, ตัวหนอนของแมลง มักจะใช้เรียกหนอนที่มีขนปกคลุม บ้ง, แมงบ้ง, แมงบ้งขน, หนอนบ้ง ก็เรียก

ก๊งโก๋ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งค่อม และมักจะมีคำสร้อยต่อว่า ก๊งโก๋ะก๊งโก้ย ก๊มโก๋ะ ก็เรียก

บ้ง

หมายถึงบุ้ง, หนอนผีเสื้อ, ตัวหนอนของแมลง มักจะใช้เรียกหนอนที่มีขนปกคลุม บ้งขน, แมงบ้ง, แมงบ้งขน, หนอนบ้ง ก็เรียก

แมงบ้ง

หมายถึงบุ้ง, หนอนผีเสื้อ, ตัวหนอนของแมลง มักจะใช้เรียกหนอนที่มีขนปกคลุม บ้ง, บ้งขน, แมงบ้งขน, หนอนบ้ง ก็เรียก

หนอนบ้ง

หมายถึงบุ้ง, หนอนผีเสื้อ, ตัวหนอนของแมลง มักจะใช้เรียกหนอนที่มีขนปกคลุม บ้ง, บ้งขน, แมงบ้ง, แมงบ้งขน ก็เรียก

แมงจินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

ปลงกรรมฐาน

หมายถึงพิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา.

แมงกินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงจินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

เท้าสาร

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง คล้ายหวายแข็ง ใช้ทำเป้นแส้ถือได้ เรียก ไม้เท้าสาร.

พ้อว้อ

หมายถึงการแสดงอาการหลุกหลิกดุจลิง เรียก พ้อว้อ พ้อว้อแพ้แว้ ก็ว่า ถ้าตัวใหญ่เรียก โพ้โว้ โผ้โว้เพ้เว้ ก็ว่า.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ