ค้นเจอ 183 รายการ

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

ขี้ควง

หมายถึงรังของตัวแมลงชนิดหนึ่ง ในจำพวกชันโรง แต่ตัวโตกว่า ลักษณะแข็งเปราะ ใช้ทำใต้ได้ ตัวแมลงชนิดนี้เรียก แมงขี้ควง.

กดวาท

หมายถึงพูดจาท่าทีใหญ่โต เรียก กดวาท อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มฟุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีผาด มึงหากกดวาทเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์).

แหลว

หมายถึงเหลว สิ่งที่มีลักษณะไม่ข้นเรียก แหลว เช่นน้ำและน้ำมัน เป็นต้น อย่างว่า คื่นคื่นช้างย้องย่างเงยงา มันแหลวไหลอาบคีงคือน้ำ พลกือก้ามเต็มไพรฮ้องโห่ เขาก็จาจีกใส้กินแกล้มนี่นัน (สังข์).

แป้งแหง้ง

หมายถึงการนอนหวายหน้า เรียก นอนแป้งแหง้ง อย่างว่า เสียงครกมองตำเข้าเดิกมามันม่วน ตำช้าช้าเสียงบอกยามซุก เดิกจั่งซุกเดิกจั่งซุก ตำเสียงสั้นสักกะลันน้ำน่ำ หกตำลึงหกตำลึงแตะแต้งแหล้งหงายลงแป้งแหง้ง (เจียง).

กฎธรรมชาติ

หมายถึงธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.

กฎธรรมดา

หมายถึงธรรมดาคืออาการหรือความเป็นไปของคนและสัตว์ เมื่อคนและสัตว์เกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องเป็นไปตามธรรมดาของโลก ธรรมดาของโลกนั้นจะต้องกิน จะต้องนอน จะต้องป้องกันภัยอันตราย จะต้องสืบพันธุ์คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะเป็นอย่างนี้ นี่คือกฎของธรรมดา.

ไหว้บรรพบุรุษ

หมายถึงทำการไหว้บรรพบุรุษ บรรพบุรุษคือผู้เป็นต้นตระกูลของเรา คือ ทวด ปู่ย่าตายาย พ่อและแม่ การไหว้บรรพบุรุษคือไหว้สายเลือดของเรา เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เรา.

แกง

หมายถึงชื่ออาหารมีน้ำจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดที่มีน้ำพอดี เรียก แกงธรรมดา แกงผสมหลายอย่างเรียก แกงซั้ว แกงสงฆ์ แกงชนิดมีน้ำน้อย เรียก แกงอ่อม อย่างว่า คันซิเอาะอ่อมจ้ำอย่าได้ใส่น้ำหลาย มันชิใสแจงแลงบ่เป็นตาจ้ำ (ย่า)

ไกว

หมายถึงแกว่ง อย่างว่า ฟังยินลมล่วงต้องไกวกิ่งสาขา พุ้นเยอ สุรภาเบยบ่ายสีแสงส้วย ยุติบั้นสุมณฑาทังไพร่ ไปชมสวนดอกไม้ยอไว้ที่ควร ก่อนแล้ว (สังข์) ดอกหนึ่งสาวบ่าวค้านสงสัยต้นบ่สูงพอไคแค่หน้า ดวงหนึ่งเมื่อลมไหวฮสฮ่วง ลุกทั่วดินแดนฟ้าท่วยไท้ถือวี (ฮุ่ง).

ก่องจ่อง

หมายถึงกริยา การกระทำที่ดูแล้วไม่เข้าท่า หรือว่ายังไม่ชำนาญ อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า.

กี่

หมายถึงเผา ใช้กับการทำอาหารให้สุก คล้ายการปิ้งหรือย่าง โดยวางบนไฟตรง ๆ ซึ่งจะใช้ไฟค่อนข้างแรง หรือบางทีอาจจะซุกไว้กับขี้เถ้าที่ยังมีความร้อนอยู่

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ