ค้นเจอ 476 รายการ

ไหปลาแดก

หมายถึงไหสำหรับใส่ปลาร้า เรียก ไหปลาแดก ที่เรียกชื่อปลาแดกเพราะเอาปลา เกลือและรำข้าวมาผสมเข้ากันแล้ว นำไปตำในครกมองให้แหลก เรียก ปลาแดก ปลาแหลก ก็ว่า บ้างก็ว่า เพราะการนำปลาที่ตำแล้วมายัดลงในไหที่ปากแคบ การยัดปลากดดันลงในไห เรียก ปลาแดก.

ไต้

หมายถึง1.)ของใช้สำหรับจุดไฟให้สว่าง เรียก ไต้ กะบองไต้ ก็ว่า. 2.)จุด เช่น จุดเทียน เรียก ไต้เทียน จุดไต้เรียก จุดกะบอง อย่างว่า ฮุ่งค่ำเช้าตามไต้เฮื่อเฮือง (สังข์).

ไหไพ

หมายถึงไหที่ใหญ่ ปากกว้าง ก้นกว้าง สำหรับใส่น้ำอ้อยงบ ใส่เกลือเก็บไว้กินได้เป็นปีๆ.

ขี้ทักแท่

หมายถึงไส้เดือนตัวเล็กเรียก ขี้ทักแท่ ขี้ทักแท่เหมือนไส้เดือน แต่ตัวเล็กกว่า สีจ่อนข้างแดง ชอบอยู่ตามที่ชื้นตามขี้สีก ชอบกัดกินรากพลู

งุม

หมายถึง-ครอบไว้,ปิด ครอบ คว่ำ เช่น คว่ำถ้วย เรียก งุมถ้วย ปิดตาเรียก งุมตา อย่างว่า มือหนึ่งงุมของพี่ มือหนึ่งตี่ของโต (บ.). -งม งมปลาเรียก งุมปลา งมหอย เรียก งุมหอย งมกุ้งเรียก งุมกุ้ง งมก็ว่า. -ปิด บัง อย่างว่า ความมักมากุ้มกุ้มคือกะสุ่มงุมงอ ความมักมาพอพอคือกะทองุ้มฮั้ว เหลียวเห็นหมาเอิ้นกะบาท (ผญา).

กฎธรรม

หมายถึงธรรมะ คือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติมีมากมายก่ายกอง เมื่อจะสรุปลงคงได้แก่สุจริต คือความประพฤติดีทางกาย เรียก กายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียก วจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียก มโนสุจริต

ไข่ผำ

หมายถึงไข่น้ำ เมล็ดของแหน เป็นพืชในตระกูลแหน เรียก หมากไข่ผำ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันตรวจสอบพบว่ามีโปรตีนมาก ชาวอีสานนำไปปรุงอาหารต้มแกงกิน มีรสอร่อยมาก เดี๋ยวนี้เหลืออยู่จำนวนน้อยแล้ว. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง มีเม็ดเล็กๆ คล้ายตัวเหา เรียก หญ้าไข่เหา.

ไซ

หมายถึง- เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ชนิดหนึ่งเรียก ไซ - ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง ใบยาวแหลมคมเรียก หญ้าไซ. - เสกเป่าด้วยมนต์ เช่น วัวควายเป็นบาดแผล เสกมนต์เป่า เรียก ไซบาดแผล. - คลั่ง บ้าเลือด เช่น วัวควายถูกตี เลือดมันคลั่ง มันจะขวิดเรา เรียก งัวควายไซ.

ฮอด

หมายถึงถึง ไปถึง เรียก เดินฮอด ถึงเวลา ฮอดยาม ถึงดี เรียก ฮอดดี เดินไปถึง เรียก ดั้นฮอด คิดถึง เรียก คึดฮอด อย่างว่า คึดฮอดน้องนอนกรองน้ำตาหลั่ง คันแม่นพังจั่งส้างเพม้างตั้งแต่ดน (กลอน).

สี่

หมายถึง(กริยา) การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ (นาม) จำนวนสามบวกหนึ่ง เรียก สี่ เรียกชื่อเดือนทางจันรคติว่า เดือน ๔ ตกในระหว่างเดือนมีนาคม.

ก่อซ่อ

หมายถึงอาการก้มหมอบตัวของเด็ก ถ้าเป็นอาการของผู้ใหญ่ เรียก กู่ซู่

ไคว่เข

หมายถึงสับสน ไขว้เขว เช่น ไม้ล้มทับกัน เรียก ไม้ล้มไคว่เข.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ