ค้นเจอ 294 รายการ

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

เง้า

หมายถึงชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง จำพวกกระโดดสูง รูปร่างคล้ายกบ มีสีดำ อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือลำธารในป่าเขาเรียก เง้า.

ไฉน

หมายถึง- ไม่แน่ใจ สงสัย ไถน ก็ว่า - ฉันใด

ชุด

หมายถึงเครื่องจุดกั้นริ้นหรือยุงในเวลาดำนา การดำนาในสมัยโบราณจะประสบกับริ้นหรือยุงกัด ต้องใช้กล้าแห้งหรือฟางถักเป็นเส้นจุดไฟวางไว้หรือคาดไว้ที่สะเอว กันมิให้ยุงหรือริ้นกัด เรียกสิ่งที่กันยุงหรือริ้นนี้ว่า ชุด.

ตลกบาตร

หมายถึงถุงบาตรมีสายโยง เรียก ตลกบาตร ถลกบาตร ถงบาตร ก็ว่า.

ไตรโลก

หมายถึงโลกทั้ง 3 ทางวรรณคดี หมายถึง สวรรค์ มนุษย์โลก บาดาล ทางศาสนาหมายถึงภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ.

เท้าสาร

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง คล้ายหวายแข็ง ใช้ทำเป้นแส้ถือได้ เรียก ไม้เท้าสาร.

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

ฮอด

หมายถึงถึง ไปถึง เรียก เดินฮอด ถึงเวลา ฮอดยาม ถึงดี เรียก ฮอดดี เดินไปถึง เรียก ดั้นฮอด คิดถึง เรียก คึดฮอด อย่างว่า คึดฮอดน้องนอนกรองน้ำตาหลั่ง คันแม่นพังจั่งส้างเพม้างตั้งแต่ดน (กลอน).

ธุดงค์

หมายถึงข้อวัตรที่ภิกษุพึงปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลศ มีโลภ โกรธ หลง ให้ลดน้อยถอยลง

โล้งโค้ง

หมายถึงเขาควายที่ใหญ่และงองุ้มเรียก เรียก เขาโล้งโค้ง อย่างว่า บวชแต่น้อยบ่ฮู้แห่งคลองคหัสถ์ ผัดแต่ในคลองธรรมบ่อวดโตกะพอฮู้ บวชแต่น้อยบ่เห็นฮอยหมู่ แม่เห็นแต่บักโล้งโค้งหมูผู้หนวดยาว (บ.) อย่าได้โสกาดิ้นนำงาช้างเพิ่น ไห้ต่อเขาโล้งโค้งควายเถ้าแห่งเฮา (กลอน

สถาปัตยกรรมศาสตร์

หมายถึงศิลปะหรือวิชาว่าด้วยการก่อสร้าง (ส.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ