ค้นเจอ 189 รายการ

ลอยเฮือไฟ

หมายถึงเรือที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือท่อนกล้วย ทำรูปคล้ายเรือ ภายในเรือมีข้าวต้ม ขนม ฝ้ายไนไหมหลอด จุดกะไต้แล้วปล่อยไปตามแม่น้ำในวันออกพรรษาของทุกปีเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทในแม่น้ำนัมมานที เรือที่ทำนี้เรียก เฮือไฟ การปล่อยเรือเรียก ปล่อยเฮือไฟ ไหลเฮือไฟ ก็ว่า.

ก๊งโก๋ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งค่อม และมักจะมีคำสร้อยต่อว่า ก๊งโก๋ะก๊งโก้ย ก๊มโก๋ะ ก็เรียก

เท้าสาร

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง คล้ายหวายแข็ง ใช้ทำเป้นแส้ถือได้ เรียก ไม้เท้าสาร.

ฮอด

หมายถึงถึง ไปถึง เรียก เดินฮอด ถึงเวลา ฮอดยาม ถึงดี เรียก ฮอดดี เดินไปถึง เรียก ดั้นฮอด คิดถึง เรียก คึดฮอด อย่างว่า คึดฮอดน้องนอนกรองน้ำตาหลั่ง คันแม่นพังจั่งส้างเพม้างตั้งแต่ดน (กลอน).

กะติกกะต่อน

หมายถึงกระท่อนกระแท่น เช่น การทำงานไม่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน เรียก กะติกกะต่อน กะติดกะต่อ ก็ว่า.

เอี่ยนด่อน

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เปลือกค่อนข้างขาว ใช้ทำยาได้ เรียก ต้นเอี่ยนด่อน.

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

หมก

หมายถึงห่อหมก เป็นการทำอาหรโดยห่อด้วยใบตอง ใบยอ หรือใบอื่น ๆ โดยคนอีสานจะนิยมนำไปเผาไฟ หรือนึ่ง

กรรมการ

หมายถึงบุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการทำงานของรัฐ ของเอกชน ขององค์การ ของบริษัท ห้าง ร้าน หรือการสาธารณกุศลเรียก กรรมการ.

กรมธรรม์

หมายถึงเอกสารกู้หนี้ยืมสิ้น, สัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์, เอกสารในการประกันภัย เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นต้น

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ