ค้นเจอ 137 รายการ

ห้า

หมายถึงจำนวนสี่บวกหนึ่ง เรียก ห้า ชื่อเดือนทางจันทรคติ เรียก เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าผู้ผ่านเมืองประกัน ถือพลเถิงตูมวางแวดเวียงระวังล้อม ตีพลายไว้หัวแหลมห้าหมื่น ย้ายหมู่ตั้งฮิมแม่ทรายคำ (ฮุ่ง).

แส่ว

หมายถึง1. โฉบ เฉี่ยว เช่น ให้เจ้าเอายาวไว้คือกาคาบเอี่ยน อย่าได้เฮ็ดอ้อมป้อมคือฮุ้งแส่วหนู (ผญา) 2. เย็บ ปัก ถัก ร้อย เช่น ดูสะอาดล้ำหลิ้งแส่วไหมคำ แคงคานคุมเครื่องเหลืองสมเสื้อ ลำลำง้อมงามเฉลียวปุนแต่ง ฝูงนี้ลอนเลือกชั้นแฝงเนื้อพี่ไป ว่าเนอ (ฮุ่ง) คำที่ใกล้เคียง : แส่วหนี

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

ขี้เจีย

หมายถึงดินประสิว เรียก ขี้เจีย เหตุที่ได้ชื่อว่า ขี้เจีย เพราะผู้ทำขี้เจียนี้เขาเอาขี้เจีย คือขี้ค้างคาวมาต้มเกลือสินเธาว์ จึงเรียกชื่อว่าขี้เจีย เขาเอาขี้เจียมาทำเป็นบั้งไฟพลุบั้งไฟตะไล บั้งไฟโบด บั้งไฟจินาย บั้งไฟอีตื้อ บั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน.

ขางเมือง

หมายถึงทหารที่ใจกล้าเหมือนเหล็กขาง สามารถรบราข้าศึกได้ชัยชนะ เรียก ทหารขาง ขางเมือง ก็ว่า อย่างว่า ตัวหนึ่งง้าวถนิมแก้วมณีโชติใสแพรว ลือเมือเถิงสวรรค์กล่าวขานขอซ้อง ภูธรท้าวหมายไปปุนชอบให้แก่อ้ายผ่องผู้ใจกล้ากว่าขาง (ฮุ่ง).

ไข

หมายถึง-มันข้นในร่างกายคนและสัตว์เรียก ไขมัน. -ชื่อขมิ้นชนิดหนึ่ง เรียก เข้าหมิ้นไข. -(ก.)บอก กล่าว การบอกกล่าวให้รู้ เรียก ไขข่าว อย่างว่า แสนสัตว์น้อมโดยคดีไขข่าว พระก็ทรงพากย์ถ้อยเสียงเอิ้นแอ่วหา (สังข์). -(ก.)เปิด การเปิดประตูเรียก ไขปักตู ไขทวาร ก็เรียก อย่างว่า นางก็คึดฮ่ำฮู้คำปากเค็มแข็ง นางจิ่งไขทวารเผยส่องแลเล็งหน้า เห็นกษัตริย์เจ้านงเยาว์ยังอ่อน ดูเพศหน้าเหมือนเชื้อลูกหลาน (สังข์).

ดาวดิงส์

หมายถึงชื่อสวรรค์ชั้นที่ 2 ในจำนวนสวรรค์ 6 ชั้น คือ จาตูม ดาวดิงส์ ยามา ดุสิต นิมมา ปรนิมมิต สวรรค์ชั้นดาวดิงส์นี้พระอินทร์เป็นผู้ครอง อย่างว่า บาล่วงเท้านครใหญ่นาโค เชียงทองเกษิมส่ำราญเฮืองเหล้ม อุดมด้วยดาวดิงส์เทวโลก แก้วกู่ส้วยใสต้องชั่วปรางค์ (สังข์).

โล้งโค้ง

หมายถึงเขาควายที่ใหญ่และงองุ้มเรียก เรียก เขาโล้งโค้ง อย่างว่า บวชแต่น้อยบ่ฮู้แห่งคลองคหัสถ์ ผัดแต่ในคลองธรรมบ่อวดโตกะพอฮู้ บวชแต่น้อยบ่เห็นฮอยหมู่ แม่เห็นแต่บักโล้งโค้งหมูผู้หนวดยาว (บ.) อย่าได้โสกาดิ้นนำงาช้างเพิ่น ไห้ต่อเขาโล้งโค้งควายเถ้าแห่งเฮา (กลอน

ฮ้องฮว่าน

หมายถึงร้องดังกังวาล อย่างว่า ฟ้าฮ้องฮ่วนผู้ใดอยากม่วนให้ปะเมียมา ปะเมียมาแล้วสตางค์แดงบ่ให้แต่ง ชิให้เจ้าด้องแด้งนอนถ้าอยู่เฮือน (กลอน) พระบาทเจ้ามีอาจกลัวเกรงสน่อยนั้น ภูธรถอนแม่ธนูปุนเปลื้อง หลังหักค้นครางตายฮ้องฮ่วน มันเล่ายังพ่นฟ้งไฟไหม้ลวบลน (สังข์).

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

กรวีก

หมายถึงนกการเวก (ป. กรวิก) นกที่มีเสียงร้องไพเราะ เรียก นกกรวีก กอระวีก ก็ว่า อย่างว่า กอระวีกฮ้องเสียงก้องกล่อมไพร (กา) ผ่อเห็นเดือนด่วนแจ้งพ้นพุ่งเขาเขียว พุ้นยอ ฉายาเฮียงฮ่มดอยดาวซ้าย เหนหอนฮ้องแกวแกวกอระวีก พรายป่าเปล้ายูงผู้ส่งเสียง (สังข์)

แมงจินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ