ค้นเจอ 151 รายการ

กรรณิการ์

หมายถึงชื่อไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งกลีบขาว ดอกหอม ใบคาย ก้านดอกสีแสด ใช้ย้อมผ้าก็ได้ ใช้ประดับก็ได้ เรียก กรรณิการ์ กรณิการ์ กณิการ์ ก็ว่า อย่างว่า กณิการ์เกียงดอกดวงดูล้น ภูชัยท้าวเดินเดียวชมดอก คือดั่งดอกกลิ่นแก้มเมียแก้วอยู่เฮือน (กา).

กรอก

หมายถึงเท เทยาเข้าปากเรียก กรอกยาเข้าปาก เช่น เมื่อคนป่วยกินยาน้ำด้วยตนเองไม่ได้ ใช้คนเทยาเข้าปาก เรียก กรอกยาเข้าปาก.

ให้ค่อยทำ

หมายถึงทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).

ไฮ่ (ตบ)

หมายถึงตบ ตี ตีฆ้อง เรียก ไฮ่ฆ้อง อย่างว่า ลมเป่งเปลื้องเฟือยข่าแคมภู สะพึนจันทร์ก่ายดอยดาวข้อน ยูงวอนก้องสันภูใกล้ฮุ่ง ค้อนไฮ่ฆ้องคนพร้อมแต่งครัว (ฮุ่ง) ช้างแกว่งฆ้องกะเิงห้าวไฮ่เสียง (กา) ค้อนไฮ่ฆ้องฮางป่าวตีเติน ฮมฮมยอผาลาแห่จอมเมือหน้า เสินเสินช้างพังพลายย้ายย่าง หลายส่ำข้าอวนเจ้าท่องทาง (ฮุ่ง).

บืน

หมายถึงเสือกไป ไสไป คืบไป ใช้อกเสือกไป เรียก บืน เช่น งูบืน ปลาบืน อย่างว่า มันหากเหลือแฮงแล้วปลาบืนยามเดือนสี่ เงี่ยงกะหลุ้ยคุยกะล้มปานนั้นว่าบ่บืน (กลอน).

ไหมขี้

หมายถึงเส้นไหมที่สาวออกมาทีแรกเส้นไหมไม่ค่อยเรียบ มักมีขี้ไหมติดตามเส้นไหม เรียก ไหมขี้ ไหมขี้นี้จะต้องฟอกล้างเสียก่อนจึงจะใช้ทอให้เป็นไหมดีได้.

ขี้งา

หมายถึงชื่อผ้าไหมชนิดหนึ่ง ใช้ไหมขาวกับไหมดำปนกัน เช่น เครือหูกเป็นไหมดำไหมที่ทอเป็นไหมขาว เมื่อสำเร็จแล้วจะเป็นสีขี้งาคือสีขาวกับสีดำปนกัน.

งุม

หมายถึง-ครอบไว้,ปิด ครอบ คว่ำ เช่น คว่ำถ้วย เรียก งุมถ้วย ปิดตาเรียก งุมตา อย่างว่า มือหนึ่งงุมของพี่ มือหนึ่งตี่ของโต (บ.). -งม งมปลาเรียก งุมปลา งมหอย เรียก งุมหอย งมกุ้งเรียก งุมกุ้ง งมก็ว่า. -ปิด บัง อย่างว่า ความมักมากุ้มกุ้มคือกะสุ่มงุมงอ ความมักมาพอพอคือกะทองุ้มฮั้ว เหลียวเห็นหมาเอิ้นกะบาท (ผญา).

ก้ง

หมายถึงกลม มน ใหญ่ เช่นผ้าตาใหญ่เรียกผ้าตาก้ง เห็ดดอกใหญ่เรียก เห็ดตาก้ง ใช้ควบกับม้งเป็นม้งก้งก็มี เช่น มืนตาม้งก้ง.

แกงขม

หมายถึงสะเดาดิน ชื่อพืชชนิดหนึ่ง เกิดตามที่ชื้นแฉะ เช่น ตามปากบ่อ และทุ่งนา ใช้กินเป็นอาหารและเป็นยาแก้และป้องกันไข้ได้ เรียก ผักแกงขม ผักแกนขม ผักดางขม ก็ว่า

ไป

หมายถึงเคลื่อนไป เดินไป อย่างว่า ให้แต่งช้างม้ามิ่งพลแพน ญิงชายในนครขวางป่าวปุนไปพร้อม คนการใช้พอแสนคาดเครื่อง แผ้วแผ่นเท้าทางกว้างฮาบงาม (สังข์).

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ