ค้นเจอ 116 รายการ

ไคล

หมายถึงเหงื่อ เหงื่อที่ปนกับละอองแห้งเกรอะกรังอยู่ตามร่างกาย เรียก ขี้ไคล อย่างว่า พอคราวท้าวสีไคลล้างลูบ แล้วแต่งเนื้อพะเนผ้ายย่างเชิง (สังข์).

ก่งโก๊ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งเรียกก่งโก๊ะ ก่งโก้ย ก็ว่า อย่างว่า เจ้าผู้จึ๊กจิ๊จื้น ขามะเฮ็งเก้ากิ่ว สังบ่โก๊ะก้มโก้ยคลายเล่นอยู่ขี้ดินพุ้นนอ (ผญา)

ก่างจ่าง

หมายถึงอาการที่ยืนถ่างขา เรียก ยืนก่างจ่าง เดินถ่างขา เรียก ย่างก่างจ่าง อย่างว่า ถี่กัดจัดขี้ช้างกะลอดห่างก่างจ่างขี้มอดกะคา (ภาษิต).

ฮาก

หมายถึง1.)ราก อาเจียน อาหารที่กลืนลงไปแล้วอาเจียนออกมาทางปาก เรียก ฮาก เช่น ฮากเข้า ฮากน้ำ ฮากขี้เพี้ย ฮากขี้โพ่น. 2.)ส่วนของต้นไม้ที่หยั่งลงไปในพื้นดิน เพื่อดูดเอาอาหารมาเลี้ยงลำต้น เรียก ฮากไม้ คนที่เป็นดุจรากไม้ดูดเอาอาหารมาเลี้ยงประเทศชาติให้เจริญ เรียก ฮากคน.

ตื่น

หมายถึง1.)ตกใจ 2.)ฟื้นจากหลับ เรียก ตื่น อย่างว่า ให้ตื่นแต่เดิก ให้เศิกแต่หนุ่ม ให้ตื่นเดิกคือกา ให้หากินคือไก่ ตื่นแต่เช้ากินข้าวกับปลา ตื่นสวยกินขวยขี้ไก่โป่ (ภาษิต).

ก้ม

หมายถึงทำให้ต่ำลงโดยอาการน้อม เช่น ก้มหัว ก้มหน้า อย่างว่า ก้มหมอบเข้าหัวเท้าง่ายาง ย่างย้งย้งหัวแทบขี้ดิน (เสียว) เสียงสั่งพร้อมพรพร่ำเนืองนัน ลัวอาหิวฮุ่งวอนแวนหม้อม ดีแก่สองขุนก้มลาลงเลยพรากขึ้นที่ม้าผันผ้ายเผ่นผยอง(สังข์).

งุม

หมายถึง-ครอบไว้,ปิด ครอบ คว่ำ เช่น คว่ำถ้วย เรียก งุมถ้วย ปิดตาเรียก งุมตา อย่างว่า มือหนึ่งงุมของพี่ มือหนึ่งตี่ของโต (บ.). -งม งมปลาเรียก งุมปลา งมหอย เรียก งุมหอย งมกุ้งเรียก งุมกุ้ง งมก็ว่า. -ปิด บัง อย่างว่า ความมักมากุ้มกุ้มคือกะสุ่มงุมงอ ความมักมาพอพอคือกะทองุ้มฮั้ว เหลียวเห็นหมาเอิ้นกะบาท (ผญา).

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ