ค้นเจอ 156 รายการ

กระดอม

หมายถึงชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง มีรสขม มี ๓ ชนิด คือ กระดอมต้น กระดอมเครือ กระดอมพุ่ม อย่างว่า ยินขมในหมากกระดอมแคมฮั้ว (ฮุ่ง).

ขี้เหน

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบมีกลิ่นเหม็น ผลเมื่อสุกสีช้ำมีรสหวาน รากใช้ทำยาได้ เรียก ต้นขี้เหน.

ไข่ผำ

หมายถึงไข่น้ำ เมล็ดของแหน เป็นพืชในตระกูลแหน เรียก หมากไข่ผำ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันตรวจสอบพบว่ามีโปรตีนมาก ชาวอีสานนำไปปรุงอาหารต้มแกงกิน มีรสอร่อยมาก เดี๋ยวนี้เหลืออยู่จำนวนน้อยแล้ว. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง มีเม็ดเล็กๆ คล้ายตัวเหา เรียก หญ้าไข่เหา.

โอ้กโลก

หมายถึงเปื้อน, มอมแมม มักใช้ขยายความสกปรก ซึ่งจะหมายถึงมอมแมมมาก ๆ ลักษณะการทาแป้งหรือสิ่งที่คล้ายแป้งมากเกินไป

หมก

หมายถึงห่อหมก เป็นการทำอาหรโดยห่อด้วยใบตอง ใบยอ หรือใบอื่น ๆ โดยคนอีสานจะนิยมนำไปเผาไฟ หรือนึ่ง

กฎกระทรวง

หมายถึงข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้เรียก กฎกระทรวง ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงปฏิบัติให้ถูกต้องตามตำแหน่งของตนๆ.

ขี้ดินดาก

หมายถึงดินเหนียวสีแดงปนขาว เนื้อละเอียดอยู่ใต้พื้นดินลึกๆ เรียกขี้ดินดาก

ขี้ยาง

หมายถึงน้ำมันยาง น้ำมันที่เกิดจากต้นยางหรือต้นไม้อื่น นิยมเรียก ขี้ยาง ขี้ยางนี้เอามาผสมกันขอนดอกทำเป็นกะไต้หรือกระบอง สำหรับจุดไฟให้เกิดแสงสว่าง.

หมากแงว

หมายถึงคอแลน เป็นผลไม้ป่า ภายนอกเหมือนลิ้นจี่แต่ลูกเล็กประมาณองุ่น เนื้อด้านในเหมือนเนื้อเงาะแต่รสชาติเหมือนลิ้นจี่ รสชาติเปรี้ยวนำหวาน เมล็ดเหมือนเงาะ

บักแงว

หมายถึงคอแลน เป็นผลไม้ป่า ภายนอกเหมือนลิ้นจี่แต่ลูกเล็กประมาณองุ่น เนื้อด้านในเหมือนเนื้อเงาะแต่รสชาติเหมือนลิ้นจี่ รสชาติเปรี้ยวนำหวาน เมล็ดเหมือนเงาะ

หลีโตน

หมายถึง(กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.

ผักติ้ว

หมายถึงจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้มมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล ขยายพันธุ์วิธีการใช้เมล็ด เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ตอนเหนือ โดยจะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าตามเชิงเขา และตามป่าเบญจพรรณ

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ