ค้นเจอ 157 รายการ

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

กุศลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.

กุสลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศล มีข้อความตรงกันกับกุศลกรรมบถทุกประการ.

กรรมการเฉพาะกิจ

หมายถึงกรรมการที่ได้รับเลือกแต่งตั้งให้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น งานปราบปราม งานปลูกต้นไม้.

ก้นล่ง

หมายถึงยุงก้นปล่อง ชื่อยุ่งชนิดหนึ่งกินเลือดคนและสัตว์ไม่รู้จักอิ่ม เลือดไหลออกทางก้น เรียก ยุงก้นล่ง ก้นโล่ง ก็ว่า.

งกงก

หมายถึงมีอาการสั่นเช่นคนเห็นเสือกลัวเสือจนตัวสั่นงกงก หรือหนาวมากจนตัวสั่นงกงก เรียก สั่นงกงก.

แม่เย้าแม่เฮือน

หมายถึงหญิงผู้ปกครองเรือนให้คนภายในเรือนอยู่เย็นเป็นสุข มีความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เรียก แม่เย้าแม่เฮือน แม่ย้าว ก็ว่า.

กระ

หมายถึง1.)เต่าทะเลชนิดหนึ่ง หลังเป็นเกร็ดแผ่นโตๆ ซ้อนกันเหมือนกระเบื้องมุงหลังคา. 2.)คนแก่มีจุดตามตัว เรียกตกกระออกหมึก ออกซาง ก็ว่า

มกร

หมายถึงมังกร ชื่อ ดาวราศีที่ ๑๐ ตรงกับเดือนมกราคม อย่างว่า วิเศษสร้อยพระศุกร์เน่งในตุล ดาวพหัสเนาในกรกฎฮ่วมเฮียงกงแก้ว อังคารเข้าสูญมะกรเนาเน่ง ราหูแผ่นแผ้วผันฮั้งฮ่วมกุมภ์ (ฮุ่ง).

ผีเฮือน

หมายถึงโบราณอีสานกล่าวว่า เฮือนมีผี กฏีมีพระ ผีเฮือนโบราณหมายถึงพ่อแม่ พ่อแม่มีหน้าที่และอำนาจสูงสุดภายในเรือน จะให้คุณและให้โทษแก่คนภายในบ้านเรือนอย่างไรก็ได้ พ่อแม่จึงเปรียบเสมือนเป็นผีเฮือน หากพ่อแม่ไม่เอาใจใส่ คนภายนอกคือผีป่าจะมาแทรกแซง ทำให้พ่อแม่ลูกแตกเจ็บจากกัน.

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

กฐินฮังโฮม

หมายถึงกฐินสามัคคีเรียก กฐินฮังโฮม กฐินชนิดนี้มีเจ้าภาพร่วมกันหลายคนจุดประสงค์ก็เพื่อจะรวบรวมเงินไปสร้าง กุฏิ วิหาร ศาลา การเปรียญ หรือสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นสาธารณะกุศล.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ