ค้นเจอ 106 รายการ

เรียบเรียง

หมายถึงก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่งถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบเรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.

คุณบท

หมายถึง[คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า “เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง”. (ศิริวิบุลกิตติ).

เปล่า

หมายถึง[เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มีข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.

ตรีเนตร

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของพระอิศวร แปลว่า ผู้มีนัยน์ตา ๓ ตา โบราณมักเรียกว่า พระอินสวน และเขียนเป็น พระอินศวร ต่อมาจึงใช้เพี้ยนไป หมายถึง พระอินทร์. (ส. ตฺริเนตฺร).

จะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.

ฉะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.

ปัจจุทธรณ์

หมายถึง[ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).

เทววาจิกะ

หมายถึงว. ที่ทำด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียกสรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.

คันธ,คันธ-,คันธะ

หมายถึง[คันทะ-] (แบบ) น. กลิ่น, กลิ่นหอม, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า หอม. (ป., ส.); ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คันธหัตถี กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม. (ดู กาฬาวก).

วะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.

คะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.

ราชปะแตน

หมายถึง[ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัดตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคำบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ