ค้นเจอ 106 รายการ

กุรระ,กุรุระ

หมายถึง[กุระระ, กุรุระ] (แบบ) น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. กุรร).

อน,อน-

หมายถึง[อะนะ-] เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ ๒ ประกอบ).

อุปะ

หมายถึง[อุปะ, อุบปะ] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เข้าไป, ใกล้, รอง, เช่น อุปราช อุปนายก. (ป., ส.).

ยะ

หมายถึงคำประกอบข้างหน้าคำที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.

งะ

หมายถึง(โบ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ง เป็นพยัญชนะต้น มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น งะงก งะงัน งะโง้ง.

จิตรลดา

หมายถึง[จิดตฺระ-] น. เครือเถาชนิดหนึ่ง. (ส. แปลว่า หลากด้วยไม้เถาต่าง ๆ หรือว่าเป็นที่รวมแห่งไม้ทิพย์ชื่อจิตรลดา; ป. จิตฺตลตา).

นท

หมายถึง[นด] (แบบ) น. ผู้บันลือ, ผู้ร้อง, ผู้ลั่น; แม่นํ้า, ลำนํ้า, เช่น ชมพูนท (แปลว่า เกิดในแม่น้ำชมพูนที คือ ทองคำบริสุทธิ์). (ป., ส.).

ขุทกนิกาย

หมายถึงน. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมีธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.

ศัพท,ศัพท-,ศัพท์

หมายถึง[สับทะ-, สับ] น. เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ; คำยากที่ต้องแปล, ศัพท์แสง ก็ว่า; เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด. (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, คำ).

สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาระ-] คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).

บท,บท,บท-,บท-

หมายถึง(แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคำอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี บทเรศ, (ดูคำแปลที่คำนั้น ๆ). (ป. ปท).

หมายถึงในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปลือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิดในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้ง หมายถึง พราหมณ์, นก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ