ค้นเจอ 169 รายการ

ราชธรรม

หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).

ปล้องอ้อย

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acanthophthalmus kuhlii ในวงศ์ Cobitidae ตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลำตัวสีเหลืองอ่อนหรือส้ม มีแถบกว้างสีดำหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลำธารเขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร, ปลางู ก็เรียก.

กาสามปีก

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Vitex peduncularis Wall. ex Schauer ในวงศ์ Labiatae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทำยาได้, กาจับหลัก หรือ ตีนนก ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Flemingia sootepensis Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ใช้ทำยาได้. (๓) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria striata Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเล็กมาก สีม่วง รูปดอกถั่ว ฝักมี ๘-๑๐ เมล็ด. (๔) ดู ตีนนก (๑).

จตุรงคนายก

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).

ตด

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Pherosophus, Brachinus ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็งคลุมส่วนท้องไม่หมด ลำตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร ท้องกว้าง ๕-๘ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลอมเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้มตามหัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษประเภทควินอลออกมาทางก้นได้ ที่สำคัญได้แก่ ชนิด P. siamensis, P. occipitalis และ P. javanus, พายัพเรียก ขี้ตด.

หลัก

หมายถึงน. ตำแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจำนวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จำนวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จำนวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจำนวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.

ยืม

หมายถึงก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน เช่น ยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ยืมความคิด; (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ขอยืม ก็ว่า.

ขอยืม

หมายถึงก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.

มรรค-

หมายถึง[มักคะ-] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรค

หมายถึง[มัก] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรคา

หมายถึง[มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

คณ,คณ-,คณะ

หมายถึง[คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ